วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

รู้ไว้ใช้ว่า!! สรรพคุณ 12 อย่างของ′วิค วาโปรับ′ ช่วยบรรเทาอาการปวดเท้าได้ด้วยนะเอ้า

1. ช่วยให้หายใจคล่อง
แน่นอนว่าทุกคนต่างรู้ประโยชน์ข้อนี้ดี เมื่อไรที่เป็นหวัด หายใจไม่ค่อยออก ให้ทาวิคส์ไว้ที่บริเวณหน้าอกและลำคอ จะช่วยลดการคัดจมูกได้
2. ลดอาการไอ
เราไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องควักวิคส์กินเพื่อบรรเทาอาการไอ แต่สิ่งที่ควรทำคือ ทาวิคส์ไว้ที่ฝ่าเท้าและนวดเบาๆจากนั้นให้สวมถุงเท้าทับ เพียงไม่นานอาการไอก็จะบรรเทาลง โดยเฉพาะคนที่มีอาการไอช่วงกลางคืนและเด็กเล็กๆก็ใช้วิธีนี้ได้เช่นกัน
3. บรรเทาอาการเจ็บกล้ามเนื้อ
ไม่น่าเชื่อว่าวิคส์จะช่วยได้ แต่วิคส์ไปช่วยให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้นทำให้อาการเจ็บและปวดกล้ามเนื้อลดลง โดยทาให้ทั่วบริเวณที่ปวด รวมไปถึงทาทิ้งไว้ทั้งคืน
4. ขจัดเชื้อราที่เล็บเท้า
รู้สึกหยึ๋ยและยี้กับเชื้อราที่เล็บเท้าคุณใช่มั้ยคะ วิคส์ช่วยได้ค่ะ นวดวิคส์ที่นิ้วที่ดูเหมือนจะมีเชื้อราขึ้น ภายใน 1 วัน เล็บจะสีเข้มขึ้น นั่นหมายความว่าวิคส์ไปจัดการกับเชื้อรานั่นแล้ว หลังจากที่เล็บเท้าเริ่มยาวขึ้น ส่วนเล็บที่ดำก็จะค่อยหายไป เพราะเมื่อเล็บยาวก็ตัดส่วนดำทิ้ง
5. ใช้หยุดพฤติกรรมขีดข่วนของเจ้าเหมียว
เป็นพฤติกรรมปกติของแมวเหมียวที่ชอบขีดข่วนพื้นที่แข็งๆเช่นประตู ผนังไม้หรือหน้าต่าง เราป้องกันได้โดยการทาวิคส์บางๆที่บริเวณเหล่านั้น แมวไม่ชอบกลิ่นแบบนี้และจะไม่เข้าใกล้เลย เราสามารถนำมาทาบริเวณที่เจ้าเหมียวชอบมาข่วนเราได้เช่นกันนะคะ
6. ป้องกันสัตว์เลี้ยงไม่ให้ฉี่ผิดที่ผิดทาง
ถ้าสุนัขหรือแมวของคุณยังไม่ได้รับการฝึกขับถ่ายให้เป็นที่เป็นทาง หรือยังฝึกได้ไม่ดีพอ ให้ทาวิคส์บริเวณที่น้องหมาน้องแมวชอบไปทำธุระแถวๆนั้น เมื่อได้กลิ่นพวกเค้าก็จะไม่กล้าที่จะยกขาขึ้นฉี่เลยล่ะค่ะ
7. แก้อาการปวดศรีษะ
นวดวิคส์ปริมาณเล็กน้อยที่ขมับและหน้าผากจะช่วยลดอาการปวดศรีษะได้ และกลิ่นของเมนโทลาทั่มจะช่วยอาการตึงเครียดที่ศรีษะได้ด้วยค่ะ
8. ช่วยให้นอนหลับง่าย
ในคนที่หลับยากและไม่แพ้กลิ่น หากที่บ้านมีเครื่องทำความชื้น ให้เพิ่มวิกส์เข้าไปใกล้ๆ ช่วยให้บรรยากาศของห้องโล่งขึ้น หายใจได้สะดวกจนส่งผลให้นอนหลับฝันดีในที่สุด หรือเพียงผสมวิคส์กับน้ำแล้วนำไปใส่บนเตาสำหรับน้ำมันหอมระเหยค่ะ
9. ช่วยไม่ให้แผลติดเชื้อ
หากโดนมีดบาดหรือได้รับบาดเจ็บให้ทาวิคส์บางๆ ช่วยไม่ให้แผลติดเชื้อ และช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
10. หยุดการรบกวนจากแมลงต่างๆ
กลิ่นของวิคส์จะช่วยไม่ให้แมลงต่างๆเข้าใกล้เรา ทาบางๆในหลายๆจุดเลยค่ะ
11. ใช้เพื่อให้ม้าแข่งมีสมาธิ
ไม่น่าเชื่อค่ะ นอกจากใช้กับเราๆแล้วยังใช้กับม้าด้วยนะคะ โดยเค้าจะแต้มที่จมูกม้าค่ะ เพื่อป้องกันไม่ให้ม้าได้กลิ่นม้าตัวอื่นหรือได้กลิ่นม้าตัวเมีย ช่วยให้ม้าโฟกัสกับการแข่งขันค่ะ
12. ไล่ยุง
ทาวิคส์บางๆที่เสื้อและผิวของเราในหลายจุดที่คาดว่ายุงชอบมากัด ยุงก็จะไม่มากวนใจเรา และหากเราโดนยุงกัดไปก่อนแล้วให้ทาวิคส์บางๆและติดพลาสเตอร์ไว้เพื่อไม่ให้เกิดอาการคันค่ะ
ที่มา sanook

วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บอกลาอาการปวดส้นเท้า

ปวดส้นเท้า ยืนนานไม่ได้ มีปัญหาสุขภาพเท้า บอกลาปัญหาอาการปวดส้นเท้า ยางรองส้นเท้า Heel Soother
รู้สึกปวดส้นเท้าปวดข้อเท้าทุกครั้งที่ต้องยืนรอใครนานๆ เหนื่อยง่ายจากการเดินชอปปิ้งทั้งๆที่เมื่อก่อนเคยเดินได้นานกว่านี้ พออายุมากขึ้นก็ไม่ค่อยกล้าที่จะออกไปเที่ยวที่ไหน จนต้องปิดโอกาสตัวเองเพราะอาการปวดส้นเท้า เห็นเพื่อนตื่นแต่เช้าตรู่เพื่อไปวิ่งออกกำลังกายกันอย่างสนุกสนาน อิจฉาเพื่อนที่ได้ออกวิ่งอย่างมั่นใจ แต่คุณต้องมานั่งจดจ่ออยู่แต่หน้าโทรทัศน์ เพราะไม่ได้ออกกำลังกาย ทั้งๆที่อยากจะออกไปวิ่งเพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดี แต่มันกลัว กลัวว่าเท้าจะปวด กลัวส้นเท้าจะเจ็บ กลัวจะต้องนั่งรถเข็นหากพลาดพลั้ง ไม่กล้า ท้ายสุดก็คงต้องนั่งรถเข็นเพราะขาอ่อนแรง หรือบางครั้งบางคราวไปพบผลิตภัณฑ์ที่บอกว่าช่วยลดอาการปวดส้นเท้าได้ แต่เมื่อลองใช้พบว่าไม่ได้รับผลตามนั้น ราคาแพง ไม่คุ้มค่ากับเงินที่เสียไป ปัญหาเท้าก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข
น้ำหนักตัวเยอะทำให้ปวดส้นเท้าปวดข้อเท้า รู้สึกอึดอัดกับการเดินในระยะทางที่ไกล รู้สึกว่ารองเท้าที่สวมใส่อยู่ ไม่นุ่ม ไม่สบายเท้า ยางรองพื้นรองเท้าลื่นไม่สบาย ทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพเท้า เพิ่มแรงกดให้กับเท้า บางครั้งก็ต้องลงทุนด้วยเงินจำนวนหลักพัน เพื่อซื้อรองเท้าที่โฆษณาว่าดี แต่ท้ายสุดก็ไม่ช่วยอะไร เสียเวลา เสียเงิน ไม่ได้ช่วยให้สุขภาพของเท้าดีขึ้น เหนื่อย ท้อ จิตใจหดหู่ อันอาจส่งผลให้เกิดอาการ กระดูกเท้าอักเสบ เท้าหรือข้อเท้าได้รับแรงกระแทกรุนแรง เพราะไม่มียางรองส้นเท้าที่ดี มีคุณภาพ ที่จะช่วยให้ปัญหาต่างๆได้หมดไป
สุดยอดของการคิดค้น ลดอาการปวดส้นเท้าได้ถึงร้อยละ 90 ผลิตจากธรรมชาติ ใกล้เคียงเนื้อเยื้อส้นเท้าของมนุษย์ ยางรองส้นเท้า Heel Soother
Rubbers Innotech Co., Ltd. ขอแนะนำผลิตภัณฑ์ Heel Soother หรือที่รู้จักและได้รับความนิยมอยู่ขณะนี้ในชื่อ ยางรองส้นเท้า ที่ถือเป็นสุดยอดของการคิดค้นผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยลดอาการปวดส้นเท้า ในระหว่างที่กำลัง ยืน, เดิน และวิ่ง จนสามารถสัมผัสและรู้สึกได้ถึงความนุ่มและสบายเท้า
เราค้นพบว่าอุปกรณ์รองส้นเท้าลดอาการปวดส้นเท้าลดอาการปวดข้อเท้าจะสามารถช่วยแก้ปัญหาได้ ซึ่งเท้าเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายที่ใช้ในการ ยืน, เดิน และวิ่ง โดยขณะเดินส้นเท้าต้องรับน้ำหนักจากแรงกระแทกเพิ่มมากขึ้นถึง 3 เท่าของน้ำหนักตัว และเป็น 4 เท่าในขณะวิ่ง อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ นักกีฬา, ผู้ที่เดิน ยืน วิ่ง และอออกกำลังกาย มักมีอาการปวดเท้าอันเนื่องมาจากเอ็นร้อยหวาย และกระดูกส้นเท้าอักเสบอยู่เสมอ และจากการวิจัยพบว่าการใช้อุปกรณ์รองส้นเท้า จะสามารถช่วยลดอาการปวดส้นเท้าได้ถึงร้อยละ 90 ดังนั้นจึงเราจึงได้มีการคิดค้น, วิจัย และออกแบบผลิตภัณฑ์ Heel Soother ยางรองส้นเท้า
คุณสมบัติของ Heel Soother ยางรองส้นเท้า
  • ยางรองส้นเท้าผลิตจากยางธรรมชาติ 100% มีความใกล้เคียงกับเนื้อเยื้อส้นเท้าของมนุษย์
  • เน้นออกแบบยางรองส้นเท้าให้มีคุณสมบัติในการช่วยกระจายแรงกด ลดแรงกระแทก และความดันในส้นเท้าได้สูง
  • มั่นใจ ปลอดภัย เพราะยางรองส้นเท้าสามารถสัมผัสกับผิวหนังได้โดยตรง ไม่แพ้ ไม่ระคายเคือง
  • กระชับ ไม่มีการเลื่อนหลุด เพราะออกแบบมาได้เหมาะสมกับพื้นของรองเท้า
  • สะดวกทุกอย่างก้าว สัมผัสที่ดีขณะสวมใส่ สบายเหมาะกับทุกกิจกรรม
  • ถอดเปลี่ยนง่าย ย้ายสะดวก
  • ประหยัดเวลาในการทำความสะอาด
  • มีสารกำจัดเชื้อราและแบคทีเรีย มั่นใจ ไร้กลิ่นอับ
  • สวมใส่ได้ทุกวันโดยไม่มีผลข้างเคียง
ยางรองส้นเท้า มีหลายขนาดให้เลือกดังนี้
  • ขนาด S เหมาะสำหรับผู้มีขนาดรองเท้าอยู่ในช่วง 35 ถึง 38
  • ขนาด M เหมาะสำหรับผู้มีขนาดรองเท้าอยู่ในช่วง 38 ถึง 42
  • ขนาด L เหมาะสำหรับผู้มีขนาดรองเท้าอยู่ในช่วง 42 ถึง 45
รู้สึกสบาย ความรู้สึกนุ่มสบายเท้า มาพร้อมกับสุขภาพที่ดีขึ้น ยางรองส้นเท้า Heel Soother
อาการปวดส้นเท้าปวดข้อเท้าทุกครั้งเมื่อต้องยืนหายไปอย่างน่าอัศจรรย์ สนุกกับการออกเดินชอปปิ้งได้นานขึ้น ไปเที่ยวที่ไหนก็ไม่ค่อยรู้สึกปวดเท้าเหมือนอย่างที่เคยเป็น ดีขึ้นกว่าเดิม หมดกังวลเมื่อต้องออกกำลังกายด้วยการเดิน สนุกมากขึ้น ไม่ปวดส้นเท้าอย่างที่เคยเป็น มั่นใจทุกครั้งที่ออกวิ่ง วิ่งไปพร้อมๆกับความรู้สึกนุ่มสบายเท้า ไม่กลัวที่จะต้องปวดส้นเท้าอีกต่อไป คุ้มค่ากับราคาของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ราคาประหยัด และแน่นอนว่าคุ้มกับการแลกมาด้วยสุขภาพที่ดีขึ้นอย่างน่าประทับใจ
เลิกกังวลกับปัญหาน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น เลิกกลัวว่าจะรู้สึกปวดเท้าเมื่อต้อง ยืน, เดิน หรือวิ่ง เดินได้ไกลขึ้น วิ่งได้สบายเท้าขึ้น สนุกไปกับความรู้สึกพิเศษเมื่อได้สัมผัสกับยางรองส้นเท้าสุดพิเศษ สุขภาพจิตและสุขภาพกายดีขึ้น อาการปวดเท้าาการปวดส้นเท้า เรื่องของกระดูกเท้าอักเสบ ลดน้อยลง ลดปัญหาข้อเท้าได้รับแรงกระแทกรุนแรง ไม่ลื่นหลุดง่ายเหมือนพื้นรองเท้าทั่วไป ใส่สะดวก เหมาะกับทุกรองเท้า เปลี่ยนหรือย้ายแผ่นรองได้ง่าย ปัญหาต่างๆของเท้าจะดีขึ้นจนคุณแปลกใจด้วยผลิตภัณฑ์ Heel Soother ยางรองส้นเท้า
สนใจผลิตภัณฑ์ Heel Soother ยางรองส้นเท้า ได้ในราคาพิเศษแล้ววันนี้
ยางรองส้นเท้าทุกขนาด ปกติราคาคู่ละ 350 บาทลดสุดพิเศษเหลือ เพียง 320 บาท เท่านั้น

วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วิธีดูแลเท้าไม่ให้แตก เหม็น แต่เนียนนุ่ม

วิธีดูแลเท้าไม่ให้แตก เหม็น แต่เนียนนุ่ม


เขียนโดย รศ.ดร.พิมลพรรณ พิทยานุกุล คณะเภสัชศาสตร ม.มหิดล
  


กล่าวกันว่าเราสามารถประเมินสุขลักษณะโดยรวมของผู้ที่เราเพิ่งพบปะครั้งแรกได้ง่ายๆโดยการสังเกตดูความสะอาดของรองเท้าที่สวมใส่อยู่และดูสุขลักษณะที่เท้า หรืออาจกล่าวได้ว่ารองเท้าและสภาพของผิวเท้าเป็นปัจจัยสำคัญที่บ่งบอกถึงความสะอาดและบุคลิกภาพของเราเอง

เทคนิคการดูแลสุขภาพเท้าให้สวยงาม ไม่เป็นโรค
1. ล้างเท้าทั้งสองข้างทุกวันโดยแช่ในน้ำอุ่นผสมน้ำสบู่ประมาณ 10 นาทีจากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด และเช็ดให้แห้งสนิท
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณซอกนิ้วเท้า ต้องให้แห้งสนิทจริงๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกลิ่นที่อับชื้นและเหม็นตามมา

2. ทุกครั้งที่เท้าเปียก ต้องเช็ดให้แห้งทุกครั้งก่อนสวมรองเท้าหรือถุงเท้า

3. ควรเปลี่ยนถุงเท้าทุกวันและนำรองเท้าไปทำความสะอาด ตากแห้งไม่ควรนำรองเท้าไปแขวนใส่ตู้รองเท้าที่ปิดสนิทแนะนำให้ใช้รองเท้าใส่สลับกันสองคู่เพื่อจะได้นำคู่ที่ใส่แล้วไปผึ่งลมแดดให้แห้ง หรืออาจใช้ผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นสำหรับรองเท้าช่วยด้วยก็ยิ่งดี

4. ผู้ที่มีโรคประจำตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเบาหวานต้องเข้มงวดกับตัวเองในการดูแลเท้าทั้งสองข้างให้สะอาดเป็นพิเศษหมั่นสังเกตความผิดปกติของการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่เกิดขึ้น เช่นสีเล็บเท้าที่ซีดหรือเหลืองผิดปกติ ผิวลอก หรือมีรอยแตกของผิวเท้า ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่เท้า

5. เวลาที่เหมาะสมที่สุดในการเลือกซื้อรองเท้าคู่ใหม่ ควรจะเป็นช่วงบ่ายเนื่องจากเท้ามักจะบวมกว่าตอนเช้า ดังนั้นรองเท้าคู่ที่สวมใส่สบายในตอนบ่าย จะสวมสบายในตอนเช้าและตอนเย็นด้วย

6. หากออกนอกบ้านและสวมใส่รองเท้าแตะ ควรทาครีมกันแดดที่เท้าด้วยเช่นเดียวกับผิวหนังส่วนอื่นๆ ของร่างกายที่โผล่ออกนอกร่มผ้า

7. ควรหมั่นขัดผิวเท้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งส้นเท้าด้วยแปรงขนนุ่มอย่างสม่ำเสมอเพื่อขัดเอาผิวเซลล์เก่าที่ตายแล้วออกไป ผิวเท้าจะได้นุ่มเนียนและเป็นการเร่งการผลิตเซลล์ใหม่

8. ก่อนเข้านอน ควรล้างเท้าให้สะอาด เช็ดให้แห้งสนิท และชโลมด้วยครีมบำรุงผิวโดยเฉพาะอย่างยิ่งผิวหนังบริเวณส้นเท้า

9. ทุกครั้งที่ชโลมเท้าด้วยครีมบำรุงพยายามหลีกเลี่ยงซอกนิ้วเท้าเนื่องจากการสะสมของครีมหรือความชื้นในบริเวณซอกนิ้วเท้า
จะก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นจากการหมักหมมของเชื้อจุลินทรีย์ได้

10. เพื่อรักษาให้เท้าแห้งไม่มีกลิ่นเหม็น ควรใช้ผลิตภัณฑ์จำพวกแป้ง หรือ สเปร์ยที่เท้า

11. การตัดเล็บเท้าควรจะตัดเป็นเส้นตรงเฉพาะส่วนที่ยื่นโผล่จากนิ้วเท้านั้นไม่ควรตัดสั้นเกินไปจนติดเนื้อ และไม่ควรตัดเล็บเป็นเส้นโค้งเพราะส่วนโค้งจะทำให้เกิดเล็บหรือหนังงอกที่ซอกนิ้วกลายเป็นเล็บขบที่สร้างความเจ็บปวดได้ หลังการตัดเล็บเท้า ควรตะไบเล็บไม่ให้เล็บคม


การนวดเท้าและบำรุงด้วยครีมบำรุงผิว
ภายหลังจากการล้างทำความสะอาดเท้าและเช็ดแห้งสนิทแล้วควรนวดฝ่าเท้าด้วยครีมบำรุงผิวเท้าจะช่วยให้เท้าเนียนนุ่มและเป็นการทำให้เท้าได้ผ่อนคลาย นวดคลึงทั้งส้นเท้าและฝ่าเท้าด้วยนิ้วโป้งการรักษาเท้าให้สะอาดและเนียนนุ่มชุ่มชื้นด้วยครีมนวดเป็นประจำ
นับเป็นปัจจัยป้องกันปัญหาโรคเท้าอื่นๆ ที่จะตามมาได้ เช่น ตาปลาและส้นเท้าแตกควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทครีมบำรุงเท้าโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีสารชุ่มชื้นผิวเท้าที่รวดเร็ว เช่น ยูเรียครีม แต่ต้องไม่ทิ้งครีมตกค้างบริเวณซอกนิ้วเท้า

การจัดการกับส้นเท้าที่แตกและเป็นตาปลา
ไม่ควรใช้ใบมีดโกนหนวดมากำจัดหนังหนาๆ ที่ส้นเท้าหรือตาปลาเป็นอันขาด เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่เท้าส้นเท้าที่มีหนังหนาและแตกนอกจากจะทำให้เท้าไม่สวยแล้วยังทำให้เจ็บปวดได้อีกด้วย บางรายแตกจนเห็นเลือดออกซิบๆสาเหตุเริ่มต้นมาจากการที่มีผิวแห้งมากๆเป็นเวลานานๆหรือในบางรายอาจเกิดจากการมีโรคแทรกซ้อน เช่น โรคผิวหนัง เบาหวานไฮโปไทรอยด์ในบางครั้งส้นเท้าแตกอาจเกิดในคนอ้วนที่มีน้ำหนักกดทับที่เท้ามากๆ และต้องยืนนานๆ ในแต่ละวัน หรือเดินบนพื้นแข็งๆ ด้วยเท้าเปล่า

การดูแลรักษาเบื้องต้นสำหรับส้นเท้าแตก อาจเริ่มด้วย
1. การใช้ครีมบำรุงผิวที่เข้มข้น ประกอบด้วยสารหล่อลื่นและสารชุ่มชื้นผิวสูง เช่น ยูเรียครีม เป็นต้น ทาถูหนาๆ วันละ 2-3 ครั้ง ก่อนนอนควรทาครีมชนิดนี้หนาๆที่ส้นเท้าและทั่วผิวเท้า จากนั้นใช้ถุงพลาสติกที่ใหม่และสะอาดมาห่อหุ้มเท้าจนถึงรุ่งเช้า วิธีนี้เป็นการทำเซาว์น่าให้เท้าด้วยตนเองเป็นการเพิ่มความชุ่มชื้นและหล่อลื่นผิวเท้าที่รวดเร็วโดยเนื้อครีมจะสามารถแทรกซึมเข้าผิวหนังได้ดี ทำเช่นนี้ 1-3 วันจะพบว่าผิวเท้าเนียนนุ่มขึ้นอย่างชัดเจน

2. เมื่อส้นเท้านุ่มขึ้นและไม่เจ็บแล้วอาจใช้หินขัดเท้า ค่อยๆ ขัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว หลุดลอกออกทีละน้อย ไม่ควรขัดออกทีละมากๆ เพราะจะทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้

3. ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยตัวยาซาลิไซลิคแอร์ซิด (salicylic acid) 5-14% ซึ่งมีความเป็นกรดสูงตัวยาชนิดนี้ทำหน้าที่ขจัดเซลล์ที่ตายแล้วออกจากผิว มีทั้งชนิดที่เป็นครีมหรือโลชั่นใส เวลาใช้ควรใช้สำลีชุบโลชั่นและป้ายที่ส้นเท้า วันละ1-2 ครั้งติดต่อกันทุกวันเป็นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ จะพบว่าผิวหนังหนาแห้งๆจะทยอยหลุดลอกออกเวลาอาบน้ำ ผิวใหม่ที่ส้นเท้าจะเนียนนุ่มหลังจากนั้นต้องหมั่นบำรุงผิวเท้าตามที่กล่าวไปข้างต้นเพื่อป้องกันไม่ให้ ส้นเท้าแตกได้อีก
อ้างอิงจาก นิตยสารฉลาดซื้อ

การดูแลเท้าอย่างถูกวิธี ตอนที่ 1

การดูแลเท้าอย่างถูกวิธี ตอนที่ 1
ผศ.พญ.นวพร ชัชวาลพาณิชย์
คลินิกสุขภาพเท้า ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
Faculty of Medicine Siriraj Hospital 
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
 

เท้านั้นสำคัญไฉน
           เท้าเป็นอวัยวะที่มหัศจรรย์  เท้าประกอบไปด้วยกระดูกชิ้นเล็กๆ  26  ชิ้น  เท้า  2  ข้างมีกระดูกรวมกันทั้งหมด  52  ชิ้น  ซึ่งเป็น  1  ใน  4  ของกระดูกทั้งหมดในร่างกาย  ข้อต่อในเท้า   มีทั้งหมด 38 ข้อ มีกล้ามเนื้อ 31 มัด มีเส้นเอ็นทั้งหมด 107 เส้น
           เท้าเป็นอวัยวะที่ทำงานหนัก ในขณะเดินมีแรงกระทำต่อเท้าข้างละประมาณ 120% ของน้ำหนักตัว  และในขณะวิ่งมีแรงกระทำต่อเท้าสูงถึงข้างละประมาณ 275%  ของน้ำหนักตัว มีการศึกษาพบว่าผู้ชายน้ำหนักตัว 68  กิโลกรัม  เท้าแต่ละข้างต้องรับน้ำหนัก  63.5  ตันในขณะเดิน  และสูงถึง  100 ตัน  เมื่อวิ่งเป็นระยะทาง  1.6  กิโลเมตร  มีผู้ประมาณการไว้ว่าชั่วชีวิตของมนุษย์ผู้หนึ่งจะใช้เท้าเดินเป็นระยะทางเฉลี่ยถึง  120,000 – 160,000  กิโลเมตร  ซึ่งยาวมากกว่า  3  ถึง  4  เท่าของระยะทางรอบโลกเสียอีก 

เราใช้เท้าทำงานหนักในแต่ละวันจึงควรดูแลเท้าให้มีสุขภาพดี  หลักการดูแลเท้าทำได้ดังนี้
     สิ่งที่ควรปฏิบัติในการดูแลเท้าทุกวัน
1. ล้างเท้าให้สะอาดด้วยน้ำสบู่อ่อนๆ
2. เช็ดเท้าให้แห้งทันที  โดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วเท้า 
3. ถ้าผิวแห้ง ทาครีมบางๆ  ให้ทั่วทั้งหลังเท้าและฝ่าเท้า  แต่ไม่ทาบริเวณซอกนิ้วเท้า  เพราะอาจเกิดการหมักหมมได้
4. ถ้าเล็บยาวตัดเล็บเท้าอย่างถูกวิธีโดยตัดตามแนวขอบเล็บเท่านั้น  ไม่ตัดเล็บเซาะเข้าไปทางด้านข้างของเล็บ 
5. ถ้าอากาศเย็นให้ใส่ถุงเท้านอน 
6. ใส่รองเท้าตลอดเวลาแม้นจะอยู่ในบ้านก็ตาม
7. ใส่รองเท้าที่เหมาะสมและถูกสุขลักษณะ
8. ออกกำลังเพื่อบริหารข้อเท้าและกล้ามเนื้อเท้าอย่างสม่ำเสมอเพื่อคงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระตุ้นการไหลเวียนเลือดมาสู่ปลายเท้า

การเลือกรองเท้าที่เหมาะสม
1.  เลือกแบบที่ปลอดภัยกับเท้า
           ปัจจุบันมีรองเท้าหลายแบบและหลายรูปทรงให้เลือก ควรลองรองเท้าลักษณะต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจซื้อ รองเท้าที่เหมาะสมไม่ควร มีตะเข็บแข็งอยู่ด้านในและไม่ควรเลือกแบบที่ใส่แล้วคับเกินไป หลวมเกินไป หรือมีส่วนของรองเท้ากดหรือเสียดสีกับเท้า
2.  เลือกแบบของรองเท้าที่เหมาะสมกับรูปเท้า
           เลือกรูปทรงรองเท้าที่เหมาะสมและมีลักษณะใกล้เคียงกับรูปเท้าของเราก่อน แล้วจึงลองขนาดของรองเท้า
3.  ไม่มีมาตรฐานที่แน่นอนของขนาดรองเท้า           รองเท้าเบอร์เดียวกันจะมีขนาดต่างกันไปในแต่ละยี่ห้อ แม้รองเท้ายี่ห้อเดียวกัน ถ้ารูปทรงต่างกันขนาดก็แตกต่างกัน ดังนั้นห้ามซื้อรองเท้าจากการดูเบอร์ ต้องลองสวมรองเท้าก่อนซื้อทุกครั้ง
4.  วัดขนาดเท้าทั้งสองข้างก่อนเลือกซื้อรองเท้าเสมอ           เท้าคนเราเปลี่ยนแปลงได้ทั้งขนาดและรูปร่างในแต่ละช่วงอายุ อีกทั้งคนส่วนใหญ่มักมีเท้าข้างใดข้างหนึ่งกว้างหรือยาวกว่าอีกข้างหนึ่ง ดังนั้นควรลองสวมรองเท้าทั้งสองข้างก่อนตัดสินใจซื้อทุกครั้ง
5.  ลองสวมเดินทุกครั้ง
           เมื่อเลือกรองเท้าได้แล้ว ต้องลองสวมเดินก่อนซื้อทุกครั้งเพราะรองเท้าที่ดีต้องสวมสบายทั้งในขณะนั่ง ยืนและเดิน
6.  ความยาวของรองเท้าที่เหมาะสม           ความยาวที่เหมาะสม คือ ใส่แล้วมีระยะระหว่างปลายนิ้วที่ยาวที่สุดกับปลายของรองเท้าเหลือประมาณ 3/8 – 1/2 นิ้วฟุต หรือเท่ากับขนาดความกว้างของนิ้วหัวแม่มือ
7.  ความกว้างของรองเท้าที่เหมาะสม           ความกว้างที่เหมาะสม คือ ส่วนที่กว้างที่สุดภายในรองเท้าควรกว้างเท่ากับความกว้างที่สุดของเท้าและอยู่ในตำแหน่งที่ตรงกัน
8.  ส้นเท้าต้องอยู่พอดีกับส้นรองเท้า
           ตำแหน่งของส้นเท้าควรอยู่กับตำแหน่งของส้นรองเท้าและมีความกระชับพอดี  เมื่อเดินแล้วรองเท้าไม่หลุดจากส้นเท้า
9.  ถ้าใส่วัสดุเสริมในรองเท้าต้องเปลี่ยนขนาดรองเท้าให้เหมาะสม           สำหรับผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้วัสดุเสริมภายในรองเท้า เช่น แผ่นรองใต้ฝ่าเท้า วัสดุเหล่านี้ทำให้รองเท้าคับขึ้น ดังนั้นเวลาเลือกรองเท้าต้องใส่วัสดุเสริมในรองเท้าก่อนลอง เพื่อให้ได้ขนาดรองเท้าที่เหมาะสม
10. เท้าเปลี่ยนขนาดได้ตามเวลาและชนิดของกิจกรรม
           เท้าเปลี่ยนขนาดและรูปร่างได้ในแต่ละช่วงของวัน เท้ามักจะขยายหลังจากเดินมาก นั่งห้อยเท้านาน ๆ หรืออกกำลังกาย ดังนั้น ก่อนเลือกรองเท้าต้องคำนึงถึงเวลาและกิจกรรมที่จะนำไปใช้ให้สอดคล้องกันด้วย                                               

           การออกกำลังเพื่อบริหารข้อเท้าและกล้ามเนื้อเท้าโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระตุ้นการไหลเวียนเลือดมาสู่ปลายเท้า 

ท่าบริหารทำได้โดย 
1. กระดกข้อเท้าขึ้นและลงสลับกันช้าๆ
2. หมุนข้อเท้า  โดยหมุนเข้าและหมุนออกช้าๆ 
3. ใช้นิ้วเท้าจิกผ้าที่วางอยู่บนพื้นเพื่อบริหารกล้ามเนื้อเล็กๆในเท้า
4. นั่ง ยกขาขึ้น  เหยียดเข่าตึง  แล้วกระดกข้อเท้าขึ้นค้างไว้นับ 1 – 6 ในใจถือเป็น ครั้ง
     
           *จะเห็นได้ว่า การดูแลสุขภาพเท้าทำได้ไม่ยากเลย หากว่าเราใส่ใจให้เวลาสักนิด เท้าก็จะอยู่กับเราตลอดไป*
ด้วยความปราถนาดีจาก ยางรองส้นเท้า Heelsoother

วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การทำงานหน้าจอนานๆ ระวังคอมพิวเตอร์จะเป็น แดร็กคูล่า "ดูด" เลือดคุณ

การทำงานหน้าจอนานๆ ระวังคอมพิวเตอร์จะเป็น แดร็กคูล่า "ดูด" เลือดคุณ
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตกลายเป็นปัจจัยที่ 5 ที่ขาดเสียไม่ได้สำหรับหลายๆ คน ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ทำงานออฟฟิศ ผู้ที่ติดเกมส์หรือผู้ที่ชอบท่องในสังคมออนไลน์ไม่ว่าที่ไหนๆ เรามักจะเห็นคนที่นั่งจ้อง เดินจ้องสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตจนเพลิดเพลินโดยไม่สนใจคนรอบข้าง เรียกได้ว่าติดคอมพิวเตอร์หรือติดสมาร์ทโฟนมากกว่าติดแฟนเสียอีก
หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่มีพฤติกรรมเสพติดคอมพิวเตอร์ โปรดฟังคำเตือนจากแพทย์จีน: คอมพิวเตอร์จะกลายเป็นแดร็กคูล่า "ดูด" เลือและทำลายสุขภาพคุณทีละน้อยอย่างไม่รู้ตัว เพราะการใช้สายตาจ้องคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานจะทำลายเลือดในตับ
หลายคนคงมีประสบการณ์กับการใช้สายตาหน้าคอมพิวเตอร์ หรือการอ่านหนังสือติดต่อกันนานเกินไปจะรู้สึกตาแห้ง ตามัว จริงๆ แล้ว ตาแห้งหรือตามัวเป็นเพียงหนึ่งในหลายๆ อาการที่แสดงว่าตาเราอ่อนล้าแล้วในทัศนะการแพทย์จีน การใช้สายตามากเกินไปจะทำลายเลือดในตับโดยตรง ทั้งนี้ เนื่องจากตาและตับเป็นอวัยวะที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันเป็นพิเศษโดยจะเกื้อหนุนและส่งผลกระทบโดยตรงซึ่งกันและกัน จึงมีสุภาษิตการแพทย์จีนว่า ตาเป็นหน้าต่างของตับ ส่วนหนึ่งในหน้าที่สำคัญของตับคือเก็บสะสมและรักษาความสมดุลของเลือดภายในร่างกาย ความสมบรูณ์ของเลือดในตับนอกจากจะทำให้ร่างกายของคนเราแข็งแรง สมบรูณ์ มีชีวิตชีวาแล้ว ยังมีผลโดยตรงที่จะทำให้ตาเรามองเห็นชัดเจน แยกสีได้อย่างแม่นยำ แต่ถ้าตับไม่แข็งแรงก็จะแสดงอาการที่ตา เช่น
•เลือดในตับพร่องลง จะทำให้เกิดอาการตาแห้ง ตามัว มองไม่ชัด ตาบอดกลางคืน สายตาเสื่อม
•ตับร้อนเกินไป จะทำให้เกิดอาการตาบวมแดง ปวดตา เป็นแผลที่ตาดำ
•ตับร้อน-ชื้นเกินไป จะทำให้เกิดอาการตาเหลือง
•ลมในตับ จะทำให้เกิดอาการตาเข ตาเหลือกขึ้นบน
ในทางกลับกัน การใช้สายตามากเกินไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจ้องคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ติดต่อกันเป็นเวลานานย่อมจะส่งผลกระทบต่อตับ ทำให้เลือดในตับพร่องลง ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพทั่วทั้งร่างกาย เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หน้าตาซีดเซียว ไม่มีเลือดฝาด นอนไม่หลับ ฝันบ่อย หาวนอนบ่อย เวียนศีรษะ หน้ามืด ปวดต้นคอ แขนขาชา แขนขายืดหดไม่สะดวก ประจำเดือนมาไม่ปกติ เป็นฝ้าบนหน้า ผิวหนังเหี่ยวย่น หยาบกร้าน ภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นหวัดง่าย ผมแห้งหลุดร่วงง่าย เป็นต้น
จากการศึกษาของการแพทย์ปัจจุบันพบว่า ผู้ที่ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่มีการแผ่รังสีจะเสี่ยงต่อภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ทำให้อ่อนเพลีย มึนศีรษะ ตาแห้ง ภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นหวัดง่าย คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตทั้งหลายจึงกลายเป็นแดร็กคูล่า "ดูด" เลือดคุณทีละน้อยอย่างไม่รู้ตัว
เมื่อมีการบำรุงเลือดเป็นประจำ อาหารทั้งหลายที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ก็จะค่อยๆ ทุเลาลงและอาจหายไปในที่สุด
ด้วยความปราถนาดีจาก heelsoother
ที่มา : Health Focus Enwei Health Balance

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประสบการณ์ปวดส้นเท้าของหญิงมีครรภ์และวิธีการรักษา

ความจริงเรื่องนี้เขียนไว้แล้ว แต่ เอามาปัดฝุ่นใหม่หลังจากเล่าเรื่อง “แกล้งคนไข้ เธอเป็นคุณนายจะบาปมั๊ยนี่” แทรงคิวไปก่อน  พอดีมันฮาจับใจ คุณนายบ้านอก อิ อิ  เรื่องนี้ก็เลยเอามาปัดฝุ่นขึ้นหัวเรื่องใหม่ ให้เข้ากับบรรยากาศซะหน่อย  โรคนี้ชลัญเคยเป็นมาแล้ว  จะบอกว่าทรมานสุดๆ  ที่เป็นคือตอนท้อง นน.ขึ้น 24 กก.ลูกคลอดมา เป็นไอ้หมวยน้อยไจ่ไจ๋ นน. 3360 กรัม   ที่เหลือน่ะแม่  ทุกวันนี้ยังไม่ไปไหนมาไหน   พอ นน.ขึ้นมากๆ   ปรากฏว่ามีอาการปวดส้นเท้าตอนแรก ก็เป็นแค่ข้างเดียว  ตอนหลังนี่ 2 ข้าง  เรียกว่าทั้งท้อง  นน.มากอุ้ยอ้ายอยู่แล้ว  ยังจะปวดเท้าเดินลำบาก ว๊าย แทบจะเอาไอ้หมวยน้อยออกก่อนกำหนดทีเดียว  อาการเจ็บมันจะเจ็บมากหลังจากก้าวแรกที่ตื่นนอน  หรือลุกจากเก้าอี้  ปวดแบบไม่อยากจะก้าวต่อ  แต่พอทนก้าวต่อ อาการกับดีขึ้น ปวดบ้างแต่ไม่มาก ลองเอามือกดที่ส้นเท้านี่มีจุดกดเจ็บด้วย  พอดีมีคุณหมอที่ รพ.เป็นหมอกระดูก  ปรึกษาท่านก็ให้กินยาแก้ปวดก่อนอันดับแรก  ตอนหลังยังปวดมากกว่าเดิม  ก็เลยฉีดยาเข้าส้นเท้า  หลังจากฉีดปวดมากกว่าเดิมแบบเดินไม่ได้ อยู่ 2 วัน หลังจากนั้นปวดเป็นปลิดทิ้ง เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น  แต่ดีอยู่สัก 3 เดือน เริมปวดใหม่อีกแล้ว เอาล่ะซิ หมอพิมายไม่เจ็งแล้วอ่ะ  ต้องไปมหาราช  บอกเหมือนกัน  รอให้คลอดเดี๋ยวหาย  แล้วคุณหมอก็ขอดูรองเท้า อ๊ายอาย   ราคา 299 บาท  หมอบอก 

“ขอร้องเถอะครับ  ไม่ทราบเศรษฐกิจฝืดเคืองหรือเปล่าถ้าไม่ลำบากเกินไปกรุณาใส่รองเท้าที่มัน support เท้า หน่อยครับ ใส่แบบนี้ไม่หายหรอก”

ปริ๊ดขึ้นสมอง กะอีแค่รองเท้าดีๆ ทำไมจะไม่มีปัญญาซื้อ แต่ว่า เสียดายตังค์ สะใภ้จีนน่ะเหนียวกว่าจีนอีก  บอกคุณป๊าไปเลย the mall ซื้อรองเท้าดี ๆ มันจะคู่เท่าไรกันเชียว ไปเดินๆดู  ลงตัวที่ ดอทมุนน์  คู่ละ 3800+ ซื้อขาว-ดำ และรองเท้าแตะอีก 1 คู่  2500+ เรียกว่าหมดค่ารองเท้าไปเป็นหมื่นในวันนั้น  ซะใจ  แหม! พอใส่แล้วมันช่างแตกต่างจากรองเท้า 299 เสียนี่กระไร  รู้งี้ซื้อมาตั้งนานแล้ว  ไม่ให้หมอมามองเท้าแบบดูถูกแน่  จากนั้นอาการปวดลดลง แต่พอท้องแก่มากขึ้นรองเท้า 3000+ ก็เอาไม่อยู่  ต้องฉีดยาอีกรอบ  คราวนี้การอักเสบมาก ไม่หาย  ต้องกายภาพควบไป  ทรมานมาก โอ๊ยมีลูกคนเดียวนี่มันคือลำบากแท้  นึกถึงค่าน้ำนมขึ้นมาทีเดียวลูกทุกคนควรรู้ว่า  แม่นั้น ไม่ต้องเลี้ยงดูเราดีมากก็ได้  ไม่ต้องมีสมบัติมากมายไว้ให้ก็ได้  แค่เขาประคับประคองท้องให้เราเกิดมานี่ ก็ไม่รู้จะทดแทนคุณยังไงแล้ว   แต่พอหลังคลอด นน.ลดลงอาการปวดกลับหายเป็นปลิดทิ้งแล้วก็ไม่เป็นอีกเลย แปลกมาก ....ก็เลยอยากนำเรื่องนี้มาถ่ายทอดให้ทุกท่านได้ รู้กัน

     

 

อ้างอิงภาพจากhttp://www.thaiclinic.com/medbible/plantar_fasciitis.html

 

 

อาการปวดส้นเท้า อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อเท้า เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ กระดูกงอกที่ฝ่าเท้าหรือที่เส้นเอ็นร้อยหวาย กระดูกเท้าบิดผิดรูป โรครูมาตอยด์ โรคเก๊าท์ หรือ กระดูกหัก เป็นต้น

อาการของโรค

 

ผู้ที่เป็นโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ จะมีอาการปวดและกดเจ็บบริเวณส้นเท้า ในระยะแรกอาจเกิดอาการภายหลังการออกกำลังกาย เดิน หรือยืนนาน ๆ แต่ถ้าอาการมากขึ้น ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดส้นเท้าอยู่ตลอดเวลา  ลักษณะเฉพาะของโรคนี้ คือ เมื่อลุกขึ้นเดิน 2–3 ก้าวแรกหลังจากตื่นนอนในตอนเช้า หรือหลังจากนั่งพักขาเป็นเวลานาน จะรู้สึกเจ็บบริเวณส้นเท้า เนื่องจากเกิดการกระชากของเอ็นฝ่าเท้าที่อักเสบอย่างทันทีทันใด  แต่เมื่อเดินไประยะหนึ่ง  เอ็นฝ่าเท้าจะค่อย ๆ ยืดหยุ่นขึ้น อาการเจ็บส้นเท้าจึงค่อย ๆ ทุเลาลง

 

ใครบ้างเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้

 

  1. ผู้หญิง เนื่องจากไขมันส้นเท้าจะบางกว่า เอ็นและกล้ามเนื้อของน่องและฝ่าเท้าไม่แข็งแรงเท่าผู้ชาย

  2. ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน

  3. อายุมากขึ้น เนื่องจากไขมันบริเวณส้นเท้าจะบางลง ทำให้จุดเกาะของเอ็นฝ่าเท้าบริเวณกระดูก ส้นเท้าได้รับแรงกระแทกมากขึ้น

  4. ผู้ที่ทำงานที่ต้องยืนหรือเดินนาน ๆ บนพื้นแข็ง หรือขรุขระ

  5. ผู้ที่ออกกำลังกายที่หนักเกินไปหรือไม่ได้ยืดกล้ามเนื้อน่องหรือเอ็นร้อยหวาย

  6. มีภาวะฝ่าเท้าแบนหรือโก่งโค้งจนเกินไป

  7. มีความผิดปกติของข้อเท้า ข้อเข่าหรือข้อสะโพก ทำให้การเดินและการลงน้ำหนักผิดไปจากปกติ

  8. มีการใช้รองเท้าที่ไม่ถูกลักษณะ เช่น พื้นรองเท้าบางและแข็งเกินไป

 

 

 

แนวทางการรักษาด้วยตนเอง

 

1.ลดกิจกรรมที่ทำให้ปวด หรือ กิจกรรมที่ต้องลงน้ำหนัก เช่น การยืนหรือ เดินนาน ๆ เป็นต้น และควรออกกำลังที่ไม่ต้องมีการลงน้ำหนัก เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน

2.บริหารเพื่อยืดกล้ามเนื้อน่อง และ เส้นเอ็นฝ่าเท้า

3.นวดฝ่าเท้า หรือ ใช้ผ้าพันที่ฝ่าเท้าและส้นเท้า

4.ใส่รองเท้าที่เหมาะสม ขนาดพอดีไม่หลวมเกินไป มีพื้นรองเท้าที่นุ่ม และมีแผ่นรองรับอุ้งเท้าให้นูนขึ้น อาจใช้แผ่นนุ่ม ๆ รองที่ส้นเท้า (หนา ½ นิ้ว) เพื่อลดอาการปวด ควรใส่รองเท้าส้นสูงประมาณ 1 – 1.5 นิ้ว หรือ ใช้แผ่นยางสำหรับรองส้นเท้าโดยเฉพาะ เช่น  HeelSoother เป็นต้น

5.หลีกเลี่ยงการเดินด้วยเท้าเปล่า

6.ประคบด้วยน้ำแข็งหรือน้ำอุ่น อาจใช้น้ำแข็งทุบใส่ในถุงพลาสติกแล้วห่อด้วยผ้าขนหนู หรือ ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น ประคบบริเวณที่ปวดประมาณ 10 - 15 นาที หรือ ประคบด้วยความร้อน 4 นาที สลับกับความเย็น 1 นาที ก็ได้ อาจใช้ครีมนวดแก้ปวด ก็ได้แต่ต้องระวังอย่านวดแรงเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อฟกช้ำมากขึ้นไป

7.ถ้าปวดมาก ให้รับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซ็ตตามอล ประคบด้วยความร้อน หรือใช้ยานวด

8.ลดน้ำหนัก

 

                อย่างไรก็ตามหากมีอาการแล้วควรรีบปรึกษาแพทย์  เพราะหากปล่อยไว้เรื้อรัง อาการจะมากขึ้น  การรักษา ต้องนานขึ้น  กว่าจะหายขอบอกทรมานเป็นปี 

                อีกอย่างอย่าเหนียวเรื่องรองเท้า  เอาชลัญเป็นตัวอย่าง   เลือกซื้อรองเท้าที่ support เท้าให้มากที่สุด ในวิชาชีพที่ต้องยืนนานๆ เช่น พบ ครู เป็นต้น  อย่าเห็นเพียงความสวยชั่วครู่แล้วทุกข์ภายหลัง  นะจ๊ะ

 

 

ด้วยความห่วงใย

HeelSoother เยี่ยมชมแฟนเพจได้ที่ HeelSoother Fanpage

 อ้างอิง: 

 http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=843

http://www.thaiclinic.com/medbible/plantar_fasciitis.html

วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ และวิธีการบำบัด

เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ

เอ็นฝ่าเท้าอักเสบหมายถึงเอ็นที่ยึดระหว่างส้นเท้า และกรดูกนิ้วเกิดการอักเสบ ทำให้ปวดฝ่าเท้าเมื่อตื่นลุกขึ้นในตอนเช้า และก้าวเท้าลงพื้น และเกิดอาการปวดบริเวณฝ่าเท้า และส้นเท้าแต่หลังจากเดินไป 3-4 ก้าวอาการปวดดีขึ้น แสดงว่าคุณเป็นโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบหรือที่เรียกว่า plantar fasciitis หมายถึงคุณได้ใช้เท้าทำงานมากเกินไป มีการดึงรั้งของเอ็นใต้ฝ่าเท้า การวินิจฉัยทำได้โดยการซักประวัต ิและตรวจร่างกาย
กลไกการเกิดโรค
เอ็นฝ่าเท้าจะยึดระหว่างส้นเท้าและนิ้วเท้ามีหน้าที่รักษารูปทรงของเท้า และทำหน้าที่เหมือนสปริงสำหรับการลดแรงกระแทกเวลาเดินหรือวิ่ง และยังทำหน้าที่เป็นแรงส่งเมื่อเวลาวิ่ง
โครงสร้างของฝ่าเท้าประกอบไปด้วยเอ็นซึ่งเกาะกับกระดูกส้นเท้า(calcaneus)ไปยังนิ้วเท้าเราเรียกเอ็นนี้ว่า planta fascia เอ็นฝ่าเท้ามีหน้าที่รักษารูปทรงของเท้า และทำหน้าที่เหมือนสปริงสำหรับการลดแรงกระแทกเวลาเดินหรือวิ่ง และยังทำหน้าที่เป็นแรงส่งเมื่อเวลาวิ่ง
อลงมาดูภาพแสดงตำแหน่งของเอ็นฝ่าเท้าซึ่งเปรียบเสมือนสปริง เอ็นนี้จะได้รับแรงยึดมากที่สุดในขณะที่เดินเมื่อนิ้วหัวแม่เท่ากำลังเหยียดสุดๆ บริเวณที่ได้รับแรงดึงมากที่สุดคือตำแหน่งที่เอ็นเกาะติดกับกระดูกส้นเท้า ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มกระดูกบริเวณส้นเท้าซึ่งทำให้ปวดเวลายืนหรือเดิน เมื่ออักเสบเรื้อรังก็จะเกิดกระดูกงอก exostosis (bone spur)ซึ่งดังวงกลมในรูป
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค
  • ผู้หญิง
  • น้ำหนักเกิน
  • ทำงานที่ต้องยืนหรือเดินบนพื้นแข็งๆ
  • ออกกำลังกายวิ่งโดยที่ไม่ได้มีการยืดกล้ามเนื้อน่อง
  • ฝ่าเท้าแบน หรือฝ่าเท้าโค้งเกินไป
  • ท่าการเดินผิดไปคือเดินแบบเป็ด
  • การใช้รองเท้าที่ไม่ถูกลักษณะ
อาการ
จะเริ่มต้นด้วยอาการปวดฝ่าเท้าเล็กน้อยแรกๆจะปวดหลังออกกำลังกาย ต่อมาจะปวดเวลาเดินหลังจากตื่นนอนเมื่อเดินไปสักพักอาการปวดจะดีขึ้น แต่หากเป็นมากจะปวดกลางวันร่วมด้วย การตรวจร่างกายพบว่าถ้ากดบริเวณกระดูกส้นเท้าดังรูปจะทำให้เกิดอาการปวดหากไม่รักษา อาจจะทำให้เกิดโรคข้อเท้า เข่าหรือหลังเนื่องจากทำให้การเดินผิดปกติ
การรักษา
  • เมื่อมีอาการปวดให้พักการใช้งานหนักจนกระทั่งอาการปวดดีขึ้น
  • ให้ลดน้ำหนักจนอาการปวดดีขึ้น
  • การผ่าตัดแก้ไขความพิการของเท้าเช่นฝ่าเท้าแบนราบหรือโค้งเกินไป
  • ใช้ขวอใส่น้ำแช่จนแข็งประคบน้ำแข็งครั้งละ 20 นาทีวันละ 3 ครั้งเพื่อลดอาการอักเสบ
  • แพทย์จะให้ยากลุ่ม NSAID เช่น ibuprofen เพื่อลดการอักเสบบางรายอาจจะต้องให้นาน 6-8 สัปดาห์
  • การฉีดยา steroid จะสงวนไว้ในรายที่ดื้อต่อการรักษาเบื้องต้นเพราะจะทำให้เกิดการอ่อนแอของเอ็นซึ่งอาจจะทำให้เอ็นขาด
  • ใส่รองเท้าที่มีแผ่นรองกันการกระแทกโดยแผ่นดังกล่าวจะหนาด้านในและบางส่วนด้านนอก
  • บริหารเอ็นร้อยหวายและเอ็นฝ่าเท้าที่บ้าน
  • การนวดฝ่าเท้า
ยืนห่างจากโต๊ะหรือกำแพง 24 นิ้ว ก้าวเท้ามาข้างหน้าหนึ่งก้าว แล้วย่อสะโพกและเข่าลง จะทำให้รู้สึกตึงบริเวณกล้ามเนื้อน่อง เอ็นร้อยหวายและเอ็นฝ่าเท้า ให้ทำแต่ละครั้งนาน 10 วินาทีทำ 20 ครั้ง
ยืนห่างกำแพง 24 นิ้วมือยันกำแพง ส้นเท้าทั้งสองข้างติดพื้น โน้มตัวไปข้างหน้าจะมีอาการตึงกล้ามเนื้อน่อง เอ็นร้อยหวายและเอ็นฝ่าเท้าทำแต่ละครั้งนาน 10 วินาทีทำ 20 ครั้ง
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้นใน 2-3 เดือน หากไม่ดีแพทย์จะทำการฉีดยา steroid เข้าบริเวณเอ็นฝ่าเท้า
โรคที่เกี่ยวข้อง
อ้างอิง siamhealth

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

อาการเอ็นฝ่าเท้าอักเสบเกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีแก้ไขอย่างไร

อาการเอ็นฝ่าเท้าอักเสบเกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีแก้ไขอย่างไร


     เมื่อพูดถึงอาการ "เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ" คำนี้อาจจะคุ้นหูใครหลายคน แต่เชื่อเถอะว่า หลายคนก็ไม่ทราบว่า อาการนี้เกิดจากสาเหตุอะไร แล้วถ้าเป็นขึ้นมาจะแก้ไขได้อย่างไร สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบที่แท้จริง ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเป็นเพราะความเสื่อมในจุดที่เส้นเอ็น ฝ่าเท้าเกาะกับกระดูก
     เส้นเอ็นฝ่าเท้าจะเกาะอยู่ระหว่างส้นเท้ากับนิ้วเท้า เมื่อเส้นเอ็นหรือกระดูกบริเวณส้นเท้าได้รับแรงที่มากเกินไป เช่น การยืนหรือเดินนาน ๆ น้ำหนักตัวมาก อุบัติเหตุ หรือใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม ฯลฯ ทำให้เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบได้
ทั้งนี้ อาการเอ็นฝ่าเท้าอักเสบมักพบได้บ่อยในผู้หญิงวัยกลางคน ผู้ที่มีความอ้วน หรือมีรูปเท้าผิดปกติ จะมีอาการปวดแบบตื้อๆ หรือปวดอย่างรุนแรง ถ้ากระดกข้อเท้าขึ้นหรือกดที่ส้นเท้า จะปวดมากขึ้น

วิธีรักษาด้วยตนเองอย่างง่ายคือ
1. ควรลดกิจกรรมที่ทำให้ปวด เช่น การยืนหรือ เดินนาน ๆ เป็นต้น
2. ควรออกกำลังที่ไม่ต้องมีการลงน้ำหนัก เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน
3. หากมีเวลาควรบริหารเพื่อยืดกล้ามเนื้อน่อง และเส้นเอ็นฝ่าเท้า
4. นวดฝ่าเท้า หรือใช้ผ้าพันที่ฝ่าเท้าและส้นเท้า
5. ใส่ใจกับการเลือกรองเท้าที่เหมาะสม ขนาดพอดีไม่หลวมเกินไป มีพื้นรองเท้าที่นุ่ม และมีแผ่นรองรับอุ้งเท้าให้นูนขึ้น อาจใช้แผ่นนุ่ม ๆ รองที่ส้นเท้า เพื่อลดอาการปวด ควรใส่รองเท้าส้นสูงประมาณ 1–1.5 นิ้ว หรือใช้แผ่นยางสำหรับรองส้นเท้าโดยเฉพาะ
6. หลีกเลี่ยงการเดินด้วยเท้าเปล่า
7. ประคบด้วยน้ำแข็งหรือน้ำอุ่น อาจใช้น้ำแข็งทุบใส่ในถุงพลาสติกแล้วห่อด้วยผ้าขนหนู หรือ ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น ประคบบริเวณที่ปวดประมาณ 10-15 นาที หรือ ประคบด้วยความร้อน 4 นาที สลับกับความเย็น 1 นาที ก็ได้ อาจใช้ครีมนวดแก้ปวดก็ได้ แต่ต้องระวังอย่านวดแรงเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อฟกช้ำมากขึ้นไป
8. ถ้าปวดมาก ให้รับประทานยาแก้ปวด ประคบด้วยความร้อน หรือใช้ยานวด
9. ท้ายสุดให้พิจารณารูปร่างตัวเอง หากอ้วนเกินไปควรลดน้ำหนัก

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

โรงงานต้นแบบ วิจัยและผลิต ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับยาง

เราคือโรงงานต้นแบบ วิจัยและผลิต ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับยาง สามารถ ติดต่อ สอบถาม และร่วมงานกับเราได้ที่ บจก. รับเบอส์ อินโนเทค เลขที่ 15 อาคารสตางค์มงคลสุข คณะวิศวกกรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ถ.กาญจนวณิชย์ ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เยี่ยมชมเว็บไซด็โรงงานได้ที่ heelsoother และเยี่ยมชมแฟนเพจ ยางรองส้นเท้า




วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ปวดเท้า (Foot pain)


ปวดเท้า (Foot pain)


การเตรียมตัวก่อนพบแพทย์



ปวด/เจ็บเท้า เป็นอาการพบบ่อยในทุกวัย ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ สาเหตุที่ทำให้ปวดเท้าที่พบบ่อย คือ ใส่รองเท้าไม่เหมาะสม รัด หรือ หลวมเกินไป ใช้เท้ามากเกินเหตุโดยไม่ได้พักเท้า มีตาปลา หรือมีหูดที่เท้า มีรูปเท้าผิดปกติตั้งแต่เกิด ฝ่าเท้าแบนผิดปกติ

สาเหตุอื่นที่พบได้ คือ เอ็น และ/หรือเนื้อเยื่อต่างๆของเท้าอักเสบจากใช้เท้ามากเกินเหตุ มีโรคข้ออักเสบเรื้อรังจากสาเหตุต่างๆ เช่น โรคข้อรูมาตอยด์ โรคเกาต์ มีปุ่มกระดูกงอกที่เท้า (มักพบในผู้สูงอายุ) ภาวะกระดูกร้าวจากใช้งานเท้ามากเกินไป (Stress fracture) จากปลายประสาทอักเสบ เช่น จากโรคเบาหวาน จากเท้าขาดเลือดจากปัญหาการไหลเวียนโลหิต เช่น โรคหลอดเลือดขอดของขา หรือจากโรคหลอดเลือดอักเสบหรือแข็ง เช่น ในโรคเบาหวาน นอกจากนี้ คือการแบกรับน้ำหนักของเท้าจากโรคอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกิน

การดูแลตนเองเมื่อมีอาการ ปวดเท้า คือ

·         พักการใช้งานเท้าจนกว่าอาการจะดีขึ้น
·         หลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักบนเท้า
·         พันผ้ายืด (Elastic bandage) รอบเท้าเพื่อช่วยพยุงเท้า
·         เลือกใช้รองเท้าที่เหมาะสมกับการใช้งาน
·         ยกเท้าให้สูงเมื่อนั่ง หรือนอน
·         กินยาแก้ปวดพาราเซตามอล (Paracetamol)

ควรพบแพทย์/แพทย์โรคกระดูกเมื่อ

·         ดูแลตนเองในเบื้องต้นแล้วอาการปวดเท้าไม่ดีขึ้นภายใน 3-4 วัน
·         เจ็บ/ปวดเท้ามากขึ้นเรื่อยๆ
·         เท้าบวม
·         นิ้วเท้าสีเขียวคล้ำ และ/หรือเท้าเย็นผิดปกติ
·         เท้ามีอาการของการอักเสบ (ปวด บวม แดง ร้อน อาจมีไข้)
·         อาการปวดเท้าเกิดหลังมีอุบัติเหตุ เพราะอาจมีกระดูกเท้าร้าวได้
·         เมื่อเป็นโรคเบาหวาน เพราะอาจเป็นผลข้างเคียงจากโรค เช่น ปลายประสาทอัก เสบ และ/หรือหลอดเลือดเท้าอักเสบ