วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

วิธีการสวมใส่ยางรองส้นเท้าเพื่อสุขภาพ HeelSoother ในรองเท้าแตะ

วิธีการสวมใส่ยางรองส้นเท้าเพื่อสุขภาพ HeelSoother ในรองเท้าแตะ
โดยการใช้ถุงเท้าช่วยในการยึดตัวยางรองส้นเท้าเพื่อสุขภาพเอาใว้กับเท้าแทน

ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนที่ 1 ใส่ถุงเท้า และเตรียมยางรองส้นเท้า

ขั้นตอนที่ 2 ม้วนถุงเท้าตามรูป โดยไห้ม้วนเลยความยาวของยางรองส้นเท้า

ขั้นตอนที่ 3 ดึงถุงเท้ากลับ โดยใ้ห้ยางรองส้นเท้าอยู่ภายในถุงเท้า

ขั้นตอนที่ 4 ดึงถุงเท้าจนสุด ขยับยางรองส้นเท้าให้เข้าที

ขั้นตอนที่ 5 หลังจากนั้นจะสามารถใส่ยางรองส้นเท้าเพื่อสุขภาพ HeelSoother ได้กับรองเท้าทุกชนิด
สามารถสั่งซื้อสินค้าได้ที่ www.heelsoother.com และ www.fb.com/HeelSoother

วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558

ทดสอบความทนทานของยางรองส้นเท้า Heelsoother

ทดสอบความทนทานของยางรองส้นเท้า Heelsoother

สำหรับท่านลูกค้าที่ไม่มันใจในประสิทธิภาพของแผ่นยางรองส้นเท้า HeelSoother เราขอให้ท่านเข้ามาดูอัลบั้มนี้ ซึ่งเป็นการทดสอบการดึงของแผ่นยางรองส้นเท้า พบว่าสามารถทนแรงดึงได้สูงมาก เราจึงกล้ามั่นใจที่จะรับประกันคุณภาพตัวสินค้า 2 ปีเต็ม
ภาพด้านบน top view ของแผ่นยางรองส้นเท้าเพื่อสุขภาพ HeelSoother

รูปด้านหลัง โชว์ลายตารางสองชั้นที่สามารถทำให้ลดแรงกระแทกที่ส้นเท้าด้านในได้ถึง 71%

                               ภาพแสดงการยืดยางรองส้นเท้าเพื่อสุขภาพในแนวทแยง

                                  ภาพแสดงการยืดยางรองส้นเท้าเพื่อสุขภาพในแนวทแยง
                                 ภาพแสดงการยืดยางรองส้นเท้าเพื่อสุขภาพในแนวขวาง
                                    ภาพแสดงการยืดยางรองส้นเท้าเพื่อสุขภาพในแนวยาว
                                 ภาพแสดงการยืดยางรองส้นเท้าเพื่อสุขภาพในแนวยาว
                                  ภาพแสดงการยืดยางรองส้นเท้าเพื่อสุขภาพในแนวขวาง
สามารถสั่งซืื้อสินค้าได้ที่ www.heelsoother.com และ www.fb.com/HeelSoother

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

รองเท้าแข็ง เราช่วยคุณได้

หากรองเท้าของท่านแข็งเกินไป สวมใส่แล้วปวดส้นเท้า เข่า หรือหลัง ไม่ว่าจะจากการเดิน วิ่ง หรือออกกำลังกาย จะทิ้งรองเท้าคู่นั้นก็เสียดาย เราขอแนะนำ แผ่นยางรองส้นเท้าสุขภาพ HeelSoother เป็นแผ่นยางรองส้นเท้าที่ทำจากยางพารา 100 % ซึ่งสามารถรับแรงกระแทกที่ส้นเท้าด้านในได้กว่า 70% รับประกันสินค้า 2 ปี และสามารถถอดเปลี่ยนไปใส่คู่อื่นและซักล้างได้ ราคาไม่แพง เฉลี่ยแล้วจ่ายเพียงวันละ 44 สตางค์ เป็นคุณ คุณจะยอมจ่ายหรือไม่

ด้วยความปราถนาดีจาก ยางรองส้นเท้า HeelSoother

วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2558

การรักษา ปวดบวมข้อเท้า ข้อเท้าเคล็ดอักเสบ กระดูกข้อเท้าเสื่อม



การรักษา ปวดบวมข้อเท้า ข้อเท้าเคล็ดอักเสบ กระดูกข้อเท้าเสื่อม


ปวดเท้า

           เท้า เป็นโครงสร้างทางกายวิภาคศาสตร์ของสัตวหลายชนิด ใช้สำหรับการเคลื่อนที่ ในสัตว์หลายชนิดมีเท้าเป็นอวัยวะที่แยกออกต่างหากอยู่ปลายสุดของขาประกอบด้วยกระดูกหลายชิ้นรวมทั้งกรงเล็บ (claws) และเล็บ (nail) ฝ่าเท้าจะเป็นส่วนที่สำคัญมากอีกส่วนหนึ่งเนื่องจากเป็นส่วนที่มีความสัมพันธ์กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย เพราะฝ่าเท้าจะเป็นจุดรวมของปลายประสาทและเส้นเลือดจากส่วนต่างๆ ซึ่งจะสื่อสารโดยผ่านประสาทหรือต่อมน้ำเหลือง

โครงสร้างของเท้า

ท้าจะประกอบไปด้วยกระดูก 28 ชิ้น ต่อเข้ากับข้อเท้า มีกล้ามเนื้อที่เกาะมาจากขาท่อนล่างมาที่เท้า 13 มัด และกล้ามเนื้อภายในฝ่าเท้าอีก 19 มัด โครงสร้างของเท้ามีส่วนโค้งของฝ่าเท้าทั้งตามยาวและตามขวาง ทำให้เท้าสามารถรับน้ำหนักได้หลายเท่าของน้ำหนักตัว เท้ามีความแข็งแรงรับน้ำหนักไปที่ปลายเท้าได้ เช่น นักเต้นระบำบัลเล่ห์ และยังสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพพื้นผิวที่รองรับฝ่าเท้า เช่น เดินเท้าเปล่าบนพื้น
  • เท้าส่วนหน้า จะประกอบไปด้วยนิ้วเท้า และกระดูกตรงส่วนฝ่าเท้า
  • เท้าส่วนกลาง จะประกอบไปด้วยส่วนโครงของฝ่าเท้า
  • เท้าส่วนหลัง จะเป็นส้นเท้า

ส่วนประกอบของเท้า

นอกจากนั้นเท้ายังประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อเส้นเอ็นต่างๆมากกว่า 100 ชิ้นเพื่อเป็นตัวช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของเท้า plantar fascia และ Achilles tendon หรือเรียกอีกอย่างว่า เอ็นร้อยหวาย เป็นเส้นเอ็นที่สำคัญมากและเป็นตัวก่อให้เกิดปัญหาได้

เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ

เอ็นฝ่าเท้าอักเสบหมายถึงเอ็นที่ยึดระหว่างส้นเท้า และกรดูกนิ้วเกิดการอักเสบ ทำให้ปวดฝ่าเท้าเมื่อตื่นลุกขึ้นในตอนเช้า และก้าวเท้าลงพื้น และเกิดอาการปวดบริเวณฝ่าเท้า และส้นเท้าแต่หลังจากเดินไป 3-4 ก้าวอาการปวดดีขึ้น แสดงว่าคุณเป็นโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบหรือที่เรียกว่า plantar fasciitis หมายถึงคุณได้ใช้เท้าทำงานมากเกินไป มีการดึงรั้งของเอ็นใต้ฝ่าเท้า การวินิจฉัยทำได้โดยการซักประวัต ิและตรวจร่างกาย

กลไกการเกิดโรค

เอ็นฝ่าเท้าจะยึดระหว่างส้นเท้าและนิ้วเท้ามีหน้าที่รักษารูปทรงของเท้า และทำหน้าที่เหมือนสปริงสำหรับการลดแรงกระแทกเวลาเดินหรือวิ่ง และยังทำหน้าที่เป็นแรงส่งเมื่อเวลาวิ่ง
โครงสร้างของฝ่าเท้าประกอบไปด้วยเอ็นซึ่งเกาะกับกระดูกส้นเท้า(calcaneus)ไปยังนิ้วเท้าเราเรียกเอ็นนี้ว่า planta fascia เอ็นฝ่าเท้ามีหน้าที่รักษารูปทรงของเท้า และทำหน้าที่เหมือนสปริงสำหรับการลดแรงกระแทกเวลาเดินหรือวิ่ง และยังทำหน้าที่เป็นแรงส่งเมื่อเวลาวิ่ง
อลงมาดูภาพแสดงตำแหน่งของเอ็นฝ่าเท้าซึ่งเปรียบเสมือนสปริง เอ็นนี้จะได้รับแรงยึดมากที่สุดในขณะที่เดินเมื่อนิ้วหัวแม่เท่ากำลังเหยียดสุดๆ บริเวณที่ได้รับแรงดึงมากที่สุดคือตำแหน่งที่เอ็นเกาะติดกับกระดูกส้นเท้า ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มกระดูกบริเวณส้นเท้าซึ่งทำให้ปวดเวลายืนหรือเดิน เมื่ออักเสบเรื้อรังก็จะเกิดกระดูกงอก exostosis (bone spur)ซึ่งดังวงกลมในรูป

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค

  • น้ำหนักเกิน
  • ทำงานที่ต้องยืนหรือเดินบนพื้นแข็งๆ
  • ออกกำลังกายวิ่งโดยที่ไม่ได้มีการยืดกล้ามเนื้อน่อง
  • ฝ่าเท้าแบน หรือฝ่าเท้าโค้งเกินไป
  • ท่าการเดินผิดไปคือเดินแบบเป็ด
  • การใช้รองเท้าที่ไม่ถูกลักษณะ

อาการ

จะเริ่มต้นด้วยอาการปวดฝ่าเท้าเล็กน้อยแรกๆจะปวดหลังออกกำลังกาย ต่อมาจะปวดเวลาเดินหลังจากตื่นนอนเมื่อเดินไปสักพักอาการปวดจะดีขึ้น แต่หากเป็นมากจะปวดกลางวันร่วมด้วย การตรวจร่างกายพบว่าถ้ากดบริเวณกระดูกส้นเท้าดังรูปจะทำให้เกิดอาการปวดหากไม่รักษา อาจจะทำให้เกิดโรคข้อเท้า เข่าหรือหลังเนื่องจากทำให้การเดินผิดปกติ

การรักษา


การรักษาด้วยวิธีการทำกายภาพบำบัด

  • ใช้อัลตร้าซาวหรือคลื่นเหนือเสียงในการลดอาการปวด
  • ใช้ไฟฟ้าแรงดันสุญญากาศในการลดปวด IFC
  • แผ่นร้อนหรือแผ่นเย็น
  • ออกกกำลังกายเพื่อยืดกล้ามเนื้อ
  • เมื่อมีอาการปวดให้พักการใช้งานหนักจนกระทั่งอาการปวดดีขึ้น
  • ให้ลดน้ำหนักจนอาการปวดดีขึ้น
  • สวมใส่อุปกรณ์ประคองข้อเท้าเพื่อลดแรงกระแทกและลดอาการบวมของข้อเท้า
***กาารักษาขึ้นอยู่กับอาการของคนไข้ในแต่ละราย****
  • ใช้ขวดใส่น้ำแช่จนแข็งประคบน้ำแข็งครั้งละ 20 นาทีวันละ 3 ครั้งเพื่อลดอาการอักเสบ
  • เมื่อการอาการปวดเลยระยะอักเสบไปแล้วสามารถใช้น้ำอุ่นในการแช่ หรือ ถุงน้ำร้อนเพื่อวางประคบได้(ต้องไม่มีอาการ ปวด บวม แดง ร้อน แล้ว)
  • ใส่รองเท้าที่มีแผ่นรองกันการกระแทกโดยแผ่นดังกล่าวจะหนาด้านในและบางส่วนด้านนอก
  • บริหารเอ็นร้อยหวายและเอ็นฝ่าเท้าที่บ้าน

การรักษาอื่นๆ

  • การผ่าตัดแก้ไขความพิการของเท้าเช่น ฝ่าเท้าแบนราบหรือ โค้งเกินไป
  • แพทย์จะให้ยากลุ่ม NSAID เช่น ibuprofen เพื่อลดการอักเสบบางรายอาจจะต้องให้นาน 6-8 สัปดาห์
  • การฉีดยา steroid จะสงวนไว้ในรายที่ดื้อต่อการรักษาเบื้องต้น เพราะจะทำให้เกิดการอ่อนแอของเอ็นซึ่งอาจจะทำให้เอ็นขาด
  • ใส่รองเท้าที่มีแผ่นรองกันการกระแทกโดยแผ่นดังกล่าวจะหนาด้านในและบางส่วนด้านนอก
  • บริหารเอ็นร้อยหวายและเอ็นฝ่าเท้าที่บ้าน


ข้อเท้าแพลง


         ข้อเท้าแพลง (ankle sprain) เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันที่พบได้บ่อยอย่างหนึ่ง ส่วนใหญ่จะเดินสะดุดก้อนหิน ขอบถนน หรือพื้นที่ไม่เรียบ หรือขึ้นลงบันไดแล้วพลาด เป็นต้น สำหรับในกลุ่มที่เล่นกีฬาก็พบได้บ่อยเช่นกัน จากการวิ่งแล้วล้มลง หรือปะทะกันแล้วล้มลง ข้อเท้าพลิกหรือข้อเท้าแพลงเป็นปัญหาที่พบบ่อยในนักกีฬาประเภทต่างๆ เช่น นักวิ่ง นักฟุตบอล นักกีฬายิมนาสติก เป็นต้น

สาเหตุ

คนที่ไม่ได้เป็นนักกีฬาก็สามารถพบได้บ่อยส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น ใส่ส้นสูงเกิดเท้าพลิก ตกบันได อุบัติเหตุรถยนต์ ข้อเท้าแพลงเกิดจากเอ็นและเนื้อเยื่อรอบข้อเท้าได้รับการฉีกขาด อาจจะเป็นเพียงบางส่วน แต่ในรายที่รุนแรง เอ็นอาจจะฉีกทั้งเส้น ทำให้ข้อเท้าไม่มั่นคง การออกกำลังกาย ถ้าเราทำอย่างไม่ถูกวิธี อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพได้  ข้อเท้าแพลงเป็นหนึ่งในอุบัติเหตุที่เกิดจากการออกกำลังกายที่พบบ่อย การเกิดข้อเท้าแพลง เกิดจากการบิดของข้อเท้าที่เกิดจากอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การหกล้ม หรือการวิ่ง ซึ่งอุบัติเหตุเหล่านี้ จะทำให้เส้นเอ็นบริเวณข้อเท้ามีการฉีก หรือการกระชากออก ทำให้เกิดอาการบวมและปวดของข้อเท้าตามมา

  ข้อเท้าแพลงแบ่งตามความรุนแรงได้ 3 ระดับ คือ

ระดับ 1 : ข้อเท้าแพลงชนิดไม่รุนแรง คือ เอ็นถูกดึงหรือยืดมากเกินไป ทำให้เอ็นบาดเจ็บ แต่เส้นใยของเอ็นไม่ฉีกขาด มีอาการปวด บวม แต่น้อย
ระดับ2: ข้อเท้าแพลงชนิดรุนแรงปานกลาง คือ มีการฉีกขาดของเอ็นบางส่วน ทำให้ข้อเท้ามีความมั่นคงลดลง มีอาการปวด บวม เฉพาะที่ และอาจมีเลือดคั่ง
ระดับ3 : ข้อเท้าแพลงชนิดรุนแรง คือ มีการฉีกขาดของเอ็นข้อเท้าทางด้านนอกหมดทั้ง 3 เส้น ทำให้ข้อเท้าสูญเสียความมั่นคง มีอาการปวด บวมมาก และมีเลือดคั่ง อาจต้องผ่าตัด

การดูแลตัวเองเบื้องต้นเมื่อมีอาการปวดข้อเท้าจากการบาดเจ็บ

  1. Rest:  ลดการใช้งานของข้อที่ได้รับบาดเจ็บ
  2. Ice: ในการประคบเย็น อาจจะใช้น้ำแข็งผสมน้ำใส่ถุงพลาสติกห่อด้วยผ้าอีกชั้นหนึ่งหรือใช้ cold pack แล้ววางที่บริเวณที่บาดเจ็บโดยปกติสามารถวางได้นานถึง 20 นาที หรือจนมีความรู้สึกชา โดยให้ทำเช่นนี้ทุก 2-4 ชั่วโมง เป็นเวลา 2 วัน
  3. Compress:  ใช้ผ้ายืดพันรอบตั้งแต่โคนนิ้วเท้าจนถึงกลางหน้าแข้งโดยพันแน่นบริเวณส่วนปลายเพื่อลดบวม
  4. Elevation:  นอนยกข้อเท้าข้างที่เจ็บสูงเหนือหัวใจโดยอาจนำหมอนมาหนุน เพื่อป้องกันของเหลวสะสม

การรักษาด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด

1.การใช้ความร้อน หรือความเย็น เพื่อลดอาการปวดและการอักเสบ ได้แก่ การประคบร้อนหรือการประคบเย็น และ การใช้เครื่อง ultrasound ขึ้นอยุ่กับลักษณะอาการของคนไข้แต่ละคนและเทคนิคของนักกายภาพแต่ละบุคคล
2.การใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อลดอาการปวด ได้แก่ TENS  IFC
3. การออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบๆข้อเท้า
4. การยืดกล้ามเนื้อ เพื่อลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรอบๆข้อเท้า
5.สวมใส่ที่พยุงข้อเท้า เพื่อหลีกเลี่ยงการลงน้ำหนัก

วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2558

ทดสอบความทนทานของยางรองส้นเท้า Heelsoother

สำหรับท่านลูกค้าที่ไม่มันใจในประสิทธิภาพของแผ่นยางรองส้นเท้า HeelSoother เราขอให้ท่านเข้ามาดูอัลบั้มนี้ ซึ่งเป็นการทดสอบการดึงของแผ่นยางรองส้นเท้า พบว่าสามารถทนแรงดึงได้สูงมาก เราจึงกล้ามั่นใจที่จะรับประกันคุณภาพตัวสินค้า 2 ปีเต็ม







สนับสนุนโดย www.heelsoother.com และ www.fb.com/heelsoother

วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

ส่งของ 07/01/58

รอบเที่ยงส่งของไปแล้วนะครับ 
ร้านแสงชัยเจริญไลท์ติ้ง กรุงเทพมหานคร EN837232322TH ถึงพรุ่งนี้นะครับ กทม ส่งก่อนเที่ยงวันเดียวถึงครับ
คุณภัทรศิริ วิเชียรบุรี เพชรบูรณ์ EN837232326TH ได้รับของแล้วส่งไก่ย่างวิเชียร์บุรีมาให้ทานมั่งนะครับ อิอิ

วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558

ส่งยางรองส้นเท้า ประจำวันที่ 06 มกราคม 2558

ขอบคุณคุณทวีพร ลูกค้าจากสมุทรสงคราม เลข ems คือ EN837081548TH ที่สั่งยางรองส้นเท้าเพื่อสุขภาพของเราไปใช้ ขอให้หายปวดเท้าใวๆนะครับ

วันศุกร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2558

เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ ( รองช้ำ )


เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ ( รองช้ำ )

อาการปวดบริเวณส้นเท้า อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ เส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อเท้า กระดูกงอกที่ฝ่าเท้าหรือที่เส้นเอ็นร้อยหวาย กระดูกเท้าบิดผิดรูป โรครูมาตอยด์ โรคเก๊าท์ หรือ กระดูกหัก เป็นต้น 

สาเหตุของการเกิดโรคที่แท้จริงยังไม่ทราบ แต่ เชื่อว่าเป็นเพราะความเสื่อมบริเวณที่เส้นเอ็นฝ่าเท้าเกาะกับกระดูก

พบมาก ในผู้หญิงวัยกลางคน ยืนหรือเดินนาน ๆ น้ำหนักตัวมาก ใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม หรือ เท้าแบน เท้าบิด 

อาการที่พบได้บ่อย คือ หลังจากนอนหรือนั่งสักพักหนึ่ง เมื่อเริ่มเดินลงน้ำหนักจะรู้สึกปวดส้นเท้ามาก แต่ หลังจากที่เดินไปได้สักพัก อาการปวดก็จะทุเลาลง แต่ถ้าเดินนาน ๆ ก็อาจปวดมากขึ้นอีกได้ มักจะปวดมากในช่วงตื่นนอนตอนเช้า และจะดีขึ้นในช่วงตอนสาย หรือ ตอนบ่าย ถ้ากระดกข้อเท้าขึ้นหรือกดที่ส้นเท้า จะปวดมากขึ้น

ผู้สูงอายุประมาณร้อยละ 30-70 ถ้าถ่ายภาพรังสีของเท้า จะพบว่ามีกระดูกงอกที่ไต้ฝ่าเท้าได้ ดังนั้น ถึงแม้ว่าจะพบกระดูกงอกจากภาพรังสี แต่ก็อาจจะไม่เกี่ยวกับอาการปวดส้นเท้า จึงไม่จำเป็นต้องถ่ายภาพรังสีทุกคน

โดยส่วนใหญ่ ผู้ป่วยเส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ รักษาให้หายขาดได้ ด้วยวิธีรักษาแบบไม่ผ่าตัด แต่อาจจะต้องใช้เวลารักษานานหลายเดือน อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น แต่ถ้ารักษาไปแล้ว 6 - 9 เดือน ก็ยังไม่ดีขึ้น อาจจะต้องรักษาด้วยวิธีผ่าตัด 


แนวทางการรักษาด้วยตนเอง

1. ลดกิจกรรมที่ทำให้ปวด หรือ กิจกรรมที่ต้องลงน้ำหนัก เช่น การยืนหรือ เดินนาน ๆ เป็นต้น และควรออกกำลังที่ไม่ต้องมีการลงน้ำหนักที่ฝ่าเท้ามากนัก เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ๆ เป็นต้น

2. บริหาร เพื่อยืดกล้ามเนื้อน่อง และ เส้นเอ็นฝ่าเท้า

3. หลีกเลี่ยงการเดินด้วยเท้าเปล่า และ ใส่รองเท้าที่เหมาะสม ขนาดพอดีไม่หลวมเกินไป มีพื้นรองเท้าที่นุ่ม และมีแผ่นรองรับอุ้งเท้าให้นูนขึ้น อาจใช้แผ่นนุ่มๆ รองที่ส้นเท้า (หนา ½ นิ้ว) ใส่รองเท้าส้นสูงประมาณ 1 – 1.5 นิ้ว หรือ ใช้แผ่นยางสำหรับรองส้นเท้าโดยเฉพาะ เช่น Heel cups , Tuli cups เป็นต้น

4. ประคบด้วยความร้อนหรือความเย็น หรือ ใช้ยานวด นวดฝ่าเท้า หรือ ใช้ผ้าพันที่ฝ่าเท้าและส้นเท้า

5. ลดน้ำหนัก เพราะถ้าน้ำหนักมาก เส้นเอ็นฝ่าเท้าก็ต้องรับน้ำหนักมาก ทำให้ผลการรักษาไม่ดี และ หายช้า


แนวทางการรักษาโดยแพทย์

1. รับประทานยา เช่น ยาแก้ปวดลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาคลายกล้ามเนื้อ

2. ฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ บริเวณส้นเท้าจุดที่ปวด แต่ไม่ควรฉีดเกิน 2 ครั้งใน 1 เดือน เพราะอาจทำให้เกิดเส้นเอ็นฝ่าเท้าเปื่อยและขาดได้ ก่อนจะฉีดต้องทำความสะอาดที่ผิวหนังอย่างดี เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

ขณะฉีดยาสเตียรอยด์จะรู้สึกปวดแล้วก็จะชา แต่หลังจากยาชาหมดฤทธิ์ ( ประมาณ 1-2 ชั่วโมง ) ก็อาจเกิดอาการปวดซ้ำอีกครั้ง จึงควรรับประทานยา หรือ ประคบด้วยน้ำอุ่น กันไว้ก่อน

3. ทำกายภาพบำบัด เช่น ใช้ความร้อนลึก (อัลตร้าซาวด์) ดัดยืดเส้นเอ็นฝ่าเท้า ใช้ไม้เท้าช่วยเดิน เป็นต้น

4. ใส่เฝือกชั่วคราวให้ข้อเท้ากระดกขึ้น ในตอนกลางคืน หรือ ถ้าเป็นมาก อาจต้องใส่เฝือกตลอดทั้งวัน

5. การผ่าตัด จะทำก็ต่อเมื่อรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ แล้วไม่ได้ผล คือ อาการปวดไม่ดีขึ้นหลังรับการรักษาอย่างเต็มที่ต่อเนื่องกันอย่างน้อย 6 - 9 เดือน หรือ สาเหตุการปวดเกิดจากเส้นประสาทบริเวณฝ่าเท้าถูกกดทับ 

ปวดเท้า ดูแลอย่างไรดี

คำถาม
เรียนท่านผู้รู้นะค่ะ 
เนื่องด้วยดิฉันปวดส้นเท้าขวามานานเเล้ว (ไปพบคุณหมอ ท่านพบว่าเป็นคนเท้าแบน)
แต่ล่าสุดนี้มาปวดตาตุ่มด้านใน และปวดด้านค่ะ (ท่านให้ยามาท่าน ก็ยังไม่หายค่ะ)
ยาก็ท่าน หาหมอก็หลายท่านแล้ว
ยาทาก็นวดเบาๆ. น้ำอุ่นก็แช่
อาการปวด และ ปวมก็ยังมีค่ะ
รบกวนช่วยตอบด้วยนะค่ะ
ขอบคุณมากค่ะ


ตอบ
หากอาการบวมยังมีอยู่ แสดงว่ายังคงมีอาการอักเสบอยู่เยอะค่ะ
อาจจะต้องเปลี่ยนจากการใช้การแช่น้ำร้อน เป็นการแช่น้ำเย็นหรือประคบแผ่นเย็นบริเวณที่เป็นแทนค่ะ
เพราะความเย็นจะช่วยลดการอักเสบได้ดีกว่าความร้อน
ในส่วนของความร้อนใช้ได้ เพื่อลดความตึงตัวค่ะ แต่ต้องรอให้หายอักเสบมากกว่านี้ก่อน

ทายาและคลึงบริเวณที่เป็นเบา ๆ ทำดีแล้วค่ะ
อาจจะเพิ่มเรื่องการยืดกล้ามเนื้อ หรือลดการใช้งานไปเพิ่มเติม 
เพราะหากเรายังต้องเดินมาก ๆ อยู่ ก็จะทำให้อาการอักเสบ อักเสบไปเรื่อย ๆ ไม่หายเสียที
ในบางกรณีหากเราไม่ได้ออกไปทำงานเยอะ อาจให้ใส่รองเท้านิ่ม ๆ เวลาเดินในบ้านด้วยค่ะ และหากเราต้องเดินข้างนอกมาก อาจจะลองพิจารณาหารองเท้าสุขภาพที่เหมาะสม 
เพื่อไม่ให้แรงกดทับเกิดกับส้นเท้าเรามากค่ะ

ส่วนท่าบริหาร ส่วนมากจะเน้นเพื่อการยืดกล้ามเนื้อน่อง เพราะกล้ามเนื้อน้องจะไปต่อกับเอ็นบริเวณใต้ส้นเท้าที่คนไข้เป็นค่ะ
โดยอาจจะใช้ท่านั่งบนเตียง แล้วยืดขาข้างที่จะเป็นไปทางด้านหน้า ใช้ผ้าคล้องบริเวณปลายเท้าแล้วให้คนไข้ออกแรงดึงเข้าหาตัว เพื่อให้เกิดอาการตึงบริเวณน่อง ทำค้างไว้ 10 วินาที 10 ครั้ง
หรือหากมีไม้ที่เป็นรูปสามเหลี่ยม ก็จะสามารถขึ้นไปยืนได้ 
คุณสุมาลีสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน google นะคะ 

ลองรักษาด้วยตนเองดูก่อนค่ะ หากสัก 1-2 สัปดาห์ไม่หาย แนะนำมาพบนักกายภาพบำบัดเพื่อทำการรักษาหรือให้คำแนะนำต่อไป

ANS
ขอบคุณ คุณหมอมากๆๆค่ะ
สุมาลี ลืมบอกไปว่าส้นเท้าขวาเจ็บก่อน ( คุณบอกว่าเท้าแบน)
ส่วนเท้าซ้ายปวดตาตุ่มด้านใน( ปวดมากค่ะ )
แต่ก็จะลองทำตาม ที่คุณหมอแนะนำนะค่ะ
ขอบคุณมากๆๆอีกครั้งค่ะ

ด้วยความปราถนาดีจาก ยางรองเส้นเท้า HeelSoother สวมใส่เพื่อลดและป้องกันอาการปวดส้นเท้า 
เครดิต