เหนือกว่ายางสังเคราะห์ และ ซิลิโคนเจล ด้วยยางพาราไทย ซึ่งมีคุณภาพเป็นอันดับที่ 1 ของโลก ไม่ยุบตัว และไม่แข็งตัวขึ้นตลอดการใช้งาน งานวิจัยจากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ร่วมกับคณะแพทย์สาขาอโทปิดิกส์ ใช้สวมใส่เพื่อลดและป้องกันอาการปวดส้นเท้า ปวดเข่า ปวดข้อเท้า ปวดหลัง ปวดสะโพก อันเกิดมาจากแรงกระแทกบริเวณส้นเท้า ลดแรงกระแทกบริเวณส้นเท้าได้ 57% และลดแรงกระแทกบริเวณส้นเท้าด้านในใด้ 71% ซึ่งเป็นบริเวณที่บอบบางต่อการเจ็บปวด รับประกัน 2 ปี
วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ข่าวเที่ยงของททบ 5 บอกเล่าความสำคัญและประโยชน์ของการแปรรูปยางพารา
ผลิตภัณฑ์ยางรองส้นเท้า HeelSoother ได้ถูกนำออกอากาศในเรื่อง งานวิจัยที่ถูกต่อยอดไปในเชิงธุรกิจ ที่เกี่ยวกับยางพารา ในวันศุกร์ ที่ 16 เดือนมกราคม พ.ศ.2558 (16/01/58) นาทีที่ 40 เป็นต้นไป ในช่วงเวลา 11.00 - 12.00น. เพื่อช่วยกระตุ้นการใช้ยางพาราในประเทศให้สูงขึ้น เพื่อทำให้ราคายางสูงขึ้น
HeelSootherในประกาศคสช. 23/01/58
เผื่อไครไม่ได้ดูนะครับ คลิปของเราที่ถูกออกอากาศในช่อง 5 เกี่ยวกับการแปรรูปยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่าโดยใช้งานวิจัย ได้ถูกนำไปออกอากาศบางส่วนในรายการของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)(National Council for Peace and Order (NCPO))วันที่ 23 เดือนมกราคม พ.ศ.2528 (23.01.58) เวลาประมาณ สองทุ่มสี่สิบสองนาที (20.42 น.) ขอบคุณที่ให้เรามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศชาติ โดยการช่วยเพิ่มมุลค่าของยางพาราไทยโดยการแปรรูปครับ
วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
เท้าเหม็น! กับ 5 วิธีแก้ง่ายๆที่ได้ผลจริง แบบที่คุณสามารถทำเองได้
เท้าเหม็น ปัญหาใหญ่ที่หลายคนเครียด แต่บางคนยังหาวิธีแก้ไม่ได้ ความจริง มันมีกันทุกคนนั่นแหละ แต่ใครจะมาจะน้อยเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น เรามาดูวิธีแก้เท้าเหม็นกันดีกว่า ซึ่งขอบอกว่าเป็นวิธีที่เห็นผลจริงด้วยนะ
1.เอาเท้าไปแช่น้ำยาบ้วนปาก
งงหละซิ เอาน้ำยาบ้วนปากซัก 2-3 ฝามาผสมกับน้ำเปล่า ผสมจนเข้ากันแล้วก็เอาเท้าของเราลงไปแช่ได้เลย แช่ไปเรื่อยๆ ซัก 30- 60 นาที สารฆ่าเชื่อแบคทีเรียที่อยู่ในน้ำยาบ้วนปาก จะจัดการกับแบคทีเรียที่เท้าของคุณ
2.ถุงชาเก่า
เมื่อเราชงชาแล้วอย่าเพิ่งเอาไปทิ้ง ให้นำถุงชาเก่า มา 5 ถุง แล้วเอาลงแช่ลงในกาละมังน้ำอุ่น จากนั้นให้คุณเอาเท้าลงไปแช่ซัก 10 นาทีทำแบบนี้ประมาณ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ กลิ่นเท้าของคุณจะหายไป
3.รักษาเท้าให้แห้งแล้วใช้แป้งโรย
เมื่อเท้าเปียกนำผ้ามาเช็ดให้แห้ง อย่าปล่อยให้เท้าชื้นแล้วสวมถุงเท้าเด็ดขาด พอเท้าแห้งแล้วใช้แป้งโรย แป้งอาจจะเป็นแป้งโยคี หรือเต่าเหยียบโลก หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป มาโรยบริเวณซอกเท้าของเรา แป้งจะช่วยขจัดกลิ่นเท้าและแบคทีเรีย ใช้ไปสักระยะปัญหากลิ่นเท้าจะหมดไป
4.เลือกรองเท้าให้เหมาะ
ใครที่มีเหงื่อออกเท้าเยอะ พยายามหลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าหนังเทียมหรืแหนังผสม เพราะเมื่อเหงื่อเท้าออกมาแล้ว จะทำให้เกิดกลิ่นขึ้นมาอย่างรุนแรง ควรใช้หนังแท้หรือไม่ก็พลาสติก
5.เลี่ยงการใส่รองเท้าคู่เดิมๆ
หากเราสวมรองเท้าคู่เดิมทุกวันทุกเวลา จะทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี ยิ่งใส่ทุกวันอับอยู่อย่างนั้น ยังไงเท้าก็คงเหม็นแน่ๆ ให้มีรองเท้าไว้สำรองด้วย ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันใส่คู่ละ 2 วัน คู่ที่ใส่แล้วก็พยายามเอาตากแดดหรือที่โล่ง
ด้วยความปราถนาดีจาก ยางรองส้นเท้า HeelSoother
เครดิต http://news.boxza.com/view/23011
วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558
วิธีการสวมใส่ยางรองส้นเท้าเพื่อสุขภาพ HeelSoother ในรองเท้าแตะ
วิธีการสวมใส่ยางรองส้นเท้า เพื่อสุขภาพ HeelSoother ในรองเท้าแตะ
โดยการใช้ถุงเท้าช่วยในการย ึดตัวยางรองส้นเท้าเพื่อสุข ภาพเอาใว้กับเท้าแทน
โดยการใช้ถุงเท้าช่วยในการย
ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนที่ 1 ใส่ถุงเท้า และเตรียมยางรองส้นเท้า
ขั้นตอนที่ 2 ม้วนถุงเท้าตามรูป โดยไห้ม้วนเลยความยาวของยาง รองส้นเท้า
ขั้นตอนที่ 3 ดึงถุงเท้ากลับ โดยใ้ห้ยางรองส้นเท้าอยู่ภา ยในถุงเท้า
ขั้นตอนที่ 4 ดึงถุงเท้าจนสุด ขยับยางรองส้นเท้าให้เข้าที
ขั้นตอนที่ 5 หลังจากนั้นจะสามารถใส่ยางร องส้นเท้าเพื่อสุขภาพ HeelSoother ได้กับรองเท้าทุกชนิด
สามารถสั่งซื้อสินค้าได้ที่ www.heelsoother.com และ www.fb.com/HeelSoother
วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558
ทดสอบความทนทานของยางรองส้นเท้า Heelsoother
ทดสอบความทนทานของยางรองส้นเท้า Heelsoother
สำหรับท่านลูกค้าที่ไม่มันใ จในประสิทธิภาพของแผ่นยางรอ งส้นเท้า HeelSoother เราขอให้ท่านเข้ามาดูอัลบั้ มนี้ ซึ่งเป็นการทดสอบการดึงของแ ผ่นยางรองส้นเท้า พบว่าสามารถทนแรงดึงได้สูงม าก เราจึงกล้ามั่นใจที่จะรับปร ะกันคุณภาพตัวสินค้า 2 ปีเต็ม
ภาพด้านบน top view ของแผ่นยางรองส้นเท้าเพื่อสุขภาพ HeelSoother
รูปด้านหลัง โชว์ลายตารางสองชั้นที่สามารถทำให้ลดแรงกระแทกที่ส้นเท้าด้านในได้ถึง 71%
ภาพแสดงการยืดยางรองส้นเท้าเพื่อสุขภาพในแนวทแยง
ภาพแสดงการยืดยางรองส้นเท้าเพื่อสุขภาพในแนวขวาง
ภาพแสดงการยืดยางรองส้นเท้าเพื่อสุขภาพในแนวยาว
ภาพแสดงการยืดยางรองส้นเท้าเพื่อสุขภาพในแนวยาว
ภาพแสดงการยืดยางรองส้นเท้าเพื่อสุขภาพในแนวขวาง
สามารถสั่งซืื้อสินค้าได้ที่ www.heelsoother.com และ www.fb.com/HeelSoother
วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558
รองเท้าแข็ง เราช่วยคุณได้
หากรองเท้าของท่านแข็งเกินไป สวมใส่แล้วปวดส้นเท้า เข่า หรือหลัง ไม่ว่าจะจากการเดิน วิ่ง หรือออกกำลังกาย จะทิ้งรองเท้าคู่นั้นก็เสียดาย เราขอแนะนำ แผ่นยางรองส้นเท้าสุขภาพ HeelSoother เป็นแผ่นยางรองส้นเท้าที่ทำจากยางพารา 100 % ซึ่งสามารถรับแรงกระแทกที่ส้นเท้าด้านในได้กว่า 70% รับประกันสินค้า 2 ปี และสามารถถอดเปลี่ยนไปใส่คู่อื่นและซักล้างได้ ราคาไม่แพง เฉลี่ยแล้วจ่ายเพียงวันละ 44 สตางค์ เป็นคุณ คุณจะยอมจ่ายหรือไม่
ด้วยความปราถนาดีจาก ยางรองส้นเท้า HeelSoother
วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2558
การรักษา ปวดบวมข้อเท้า ข้อเท้าเคล็ดอักเสบ กระดูกข้อเท้าเสื่อม
การรักษา ปวดบวมข้อเท้า ข้อเท้าเคล็ดอักเสบ กระดูกข้อเท้าเสื่อม
ปวดเท้า
เท้า เป็นโครงสร้างทางกายวิภาคศาสตร์ของสัตวหลายชนิด ใช้สำหรับการเคลื่อนที่ ในสัตว์หลายชนิดมีเท้าเป็นอวัยวะที่แยกออกต่างหากอยู่ปลายสุดของขาประกอบด้วยกระดูกหลายชิ้นรวมทั้งกรงเล็บ (claws) และเล็บ (nail) ฝ่าเท้าจะเป็นส่วนที่สำคัญมากอีกส่วนหนึ่งเนื่องจากเป็นส่วนที่มีความสัมพันธ์กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย เพราะฝ่าเท้าจะเป็นจุดรวมของปลายประสาทและเส้นเลือดจากส่วนต่างๆ ซึ่งจะสื่อสารโดยผ่านประสาทหรือต่อมน้ำเหลือง
โครงสร้างของเท้า
ท้าจะประกอบไปด้วยกระดูก 28 ชิ้น ต่อเข้ากับข้อเท้า มีกล้ามเนื้อที่เกาะมาจากขาท่อนล่างมาที่เท้า 13 มัด และกล้ามเนื้อภายในฝ่าเท้าอีก 19 มัด โครงสร้างของเท้ามีส่วนโค้งของฝ่าเท้าทั้งตามยาวและตามขวาง ทำให้เท้าสามารถรับน้ำหนักได้หลายเท่าของน้ำหนักตัว เท้ามีความแข็งแรงรับน้ำหนักไปที่ปลายเท้าได้ เช่น นักเต้นระบำบัลเล่ห์ และยังสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพพื้นผิวที่รองรับฝ่าเท้า เช่น เดินเท้าเปล่าบนพื้น
- เท้าส่วนหน้า จะประกอบไปด้วยนิ้วเท้า และกระดูกตรงส่วนฝ่าเท้า
- เท้าส่วนกลาง จะประกอบไปด้วยส่วนโครงของฝ่าเท้า
- เท้าส่วนหลัง จะเป็นส้นเท้า
ส่วนประกอบของเท้า
นอกจากนั้นเท้ายังประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อเส้นเอ็นต่างๆมากกว่า 100 ชิ้นเพื่อเป็นตัวช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของเท้า plantar fascia และ Achilles tendon หรือเรียกอีกอย่างว่า เอ็นร้อยหวาย เป็นเส้นเอ็นที่สำคัญมากและเป็นตัวก่อให้เกิดปัญหาได้
เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ
เอ็นฝ่าเท้าอักเสบหมายถึงเอ็นที่ยึดระหว่างส้นเท้า และกรดูกนิ้วเกิดการอักเสบ ทำให้ปวดฝ่าเท้าเมื่อตื่นลุกขึ้นในตอนเช้า และก้าวเท้าลงพื้น และเกิดอาการปวดบริเวณฝ่าเท้า และส้นเท้าแต่หลังจากเดินไป 3-4 ก้าวอาการปวดดีขึ้น แสดงว่าคุณเป็นโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบหรือที่เรียกว่า plantar fasciitis หมายถึงคุณได้ใช้เท้าทำงานมากเกินไป มีการดึงรั้งของเอ็นใต้ฝ่าเท้า การวินิจฉัยทำได้โดยการซักประวัต ิและตรวจร่างกาย
กลไกการเกิดโรค
เอ็นฝ่าเท้าจะยึดระหว่างส้นเท้าและนิ้วเท้ามีหน้าที่รักษารูปทรงของเท้า และทำหน้าที่เหมือนสปริงสำหรับการลดแรงกระแทกเวลาเดินหรือวิ่ง และยังทำหน้าที่เป็นแรงส่งเมื่อเวลาวิ่ง
โครงสร้างของฝ่าเท้าประกอบไปด้วยเอ็นซึ่งเกาะกับกระดูกส้นเท้า(calcaneus)ไปยังนิ้วเท้าเราเรียกเอ็นนี้ว่า planta fascia เอ็นฝ่าเท้ามีหน้าที่รักษารูปทรงของเท้า และทำหน้าที่เหมือนสปริงสำหรับการลดแรงกระแทกเวลาเดินหรือวิ่ง และยังทำหน้าที่เป็นแรงส่งเมื่อเวลาวิ่ง
อลงมาดูภาพแสดงตำแหน่งของเอ็นฝ่าเท้าซึ่งเปรียบเสมือนสปริง เอ็นนี้จะได้รับแรงยึดมากที่สุดในขณะที่เดินเมื่อนิ้วหัวแม่เท่ากำลังเหยียดสุดๆ บริเวณที่ได้รับแรงดึงมากที่สุดคือตำแหน่งที่เอ็นเกาะติดกับกระดูกส้นเท้า ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มกระดูกบริเวณส้นเท้าซึ่งทำให้ปวดเวลายืนหรือเดิน เมื่ออักเสบเรื้อรังก็จะเกิดกระดูกงอก exostosis (bone spur)ซึ่งดังวงกลมในรูป
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค
- น้ำหนักเกิน
- ทำงานที่ต้องยืนหรือเดินบนพื้นแข็งๆ
- ออกกำลังกายวิ่งโดยที่ไม่ได้มีการยืดกล้ามเนื้อน่อง
- ฝ่าเท้าแบน หรือฝ่าเท้าโค้งเกินไป
- ท่าการเดินผิดไปคือเดินแบบเป็ด
- การใช้รองเท้าที่ไม่ถูกลักษณะ
อาการ
จะเริ่มต้นด้วยอาการปวดฝ่าเท้าเล็กน้อยแรกๆจะปวดหลังออกกำลังกาย ต่อมาจะปวดเวลาเดินหลังจากตื่นนอนเมื่อเดินไปสักพักอาการปวดจะดีขึ้น แต่หากเป็นมากจะปวดกลางวันร่วมด้วย การตรวจร่างกายพบว่าถ้ากดบริเวณกระดูกส้นเท้าดังรูปจะทำให้เกิดอาการปวดหากไม่รักษา อาจจะทำให้เกิดโรคข้อเท้า เข่าหรือหลังเนื่องจากทำให้การเดินผิดปกติ
การรักษา
การรักษาด้วยวิธีการทำกายภาพบำบัด
- ใช้อัลตร้าซาวหรือคลื่นเหนือเสียงในการลดอาการปวด
- ใช้ไฟฟ้าแรงดันสุญญากาศในการลดปวด IFC
- แผ่นร้อนหรือแผ่นเย็น
- ออกกกำลังกายเพื่อยืดกล้ามเนื้อ
- เมื่อมีอาการปวดให้พักการใช้งานหนักจนกระทั่งอาการปวดดีขึ้น
- ให้ลดน้ำหนักจนอาการปวดดีขึ้น
- สวมใส่อุปกรณ์ประคองข้อเท้าเพื่อลดแรงกระแทกและลดอาการบวมของข้อเท้า
***กาารักษาขึ้นอยู่กับอาการของคนไข้ในแต่ละราย****
- ใช้ขวดใส่น้ำแช่จนแข็งประคบน้ำแข็งครั้งละ 20 นาทีวันละ 3 ครั้งเพื่อลดอาการอักเสบ
- เมื่อการอาการปวดเลยระยะอักเสบไปแล้วสามารถใช้น้ำอุ่นในการแช่ หรือ ถุงน้ำร้อนเพื่อวางประคบได้(ต้องไม่มีอาการ ปวด บวม แดง ร้อน แล้ว)
- ใส่รองเท้าที่มีแผ่นรองกันการกระแทกโดยแผ่นดังกล่าวจะหนาด้านในและบางส่วนด้านนอก
- บริหารเอ็นร้อยหวายและเอ็นฝ่าเท้าที่บ้าน
การรักษาอื่นๆ
- การผ่าตัดแก้ไขความพิการของเท้าเช่น ฝ่าเท้าแบนราบหรือ โค้งเกินไป
- แพทย์จะให้ยากลุ่ม NSAID เช่น ibuprofen เพื่อลดการอักเสบบางรายอาจจะต้องให้นาน 6-8 สัปดาห์
- การฉีดยา steroid จะสงวนไว้ในรายที่ดื้อต่อการรักษาเบื้องต้น เพราะจะทำให้เกิดการอ่อนแอของเอ็นซึ่งอาจจะทำให้เอ็นขาด
- ใส่รองเท้าที่มีแผ่นรองกันการกระแทกโดยแผ่นดังกล่าวจะหนาด้านในและบางส่วนด้านนอก
- บริหารเอ็นร้อยหวายและเอ็นฝ่าเท้าที่บ้าน
ข้อเท้าแพลง
ข้อเท้าแพลง (ankle sprain) เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันที่พบได้บ่อยอย่างหนึ่ง ส่วนใหญ่จะเดินสะดุดก้อนหิน ขอบถนน หรือพื้นที่ไม่เรียบ หรือขึ้นลงบันไดแล้วพลาด เป็นต้น สำหรับในกลุ่มที่เล่นกีฬาก็พบได้บ่อยเช่นกัน จากการวิ่งแล้วล้มลง หรือปะทะกันแล้วล้มลง ข้อเท้าพลิกหรือข้อเท้าแพลงเป็นปัญหาที่พบบ่อยในนักกีฬาประเภทต่างๆ เช่น นักวิ่ง นักฟุตบอล นักกีฬายิมนาสติก เป็นต้น
สาเหตุ
คนที่ไม่ได้เป็นนักกีฬาก็สามารถพบได้บ่อยส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น ใส่ส้นสูงเกิดเท้าพลิก ตกบันได อุบัติเหตุรถยนต์ ข้อเท้าแพลงเกิดจากเอ็นและเนื้อเยื่อรอบข้อเท้าได้รับการฉีกขาด อาจจะเป็นเพียงบางส่วน แต่ในรายที่รุนแรง เอ็นอาจจะฉีกทั้งเส้น ทำให้ข้อเท้าไม่มั่นคง การออกกำลังกาย ถ้าเราทำอย่างไม่ถูกวิธี อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพได้ ข้อเท้าแพลงเป็นหนึ่งในอุบัติเหตุที่เกิดจากการออกกำลังกายที่พบบ่อย การเกิดข้อเท้าแพลง เกิดจากการบิดของข้อเท้าที่เกิดจากอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การหกล้ม หรือการวิ่ง ซึ่งอุบัติเหตุเหล่านี้ จะทำให้เส้นเอ็นบริเวณข้อเท้ามีการฉีก หรือการกระชากออก ทำให้เกิดอาการบวมและปวดของข้อเท้าตามมา
ข้อเท้าแพลงแบ่งตามความรุนแรงได้ 3 ระดับ คือ
ระดับ 1 : ข้อเท้าแพลงชนิดไม่รุนแรง คือ เอ็นถูกดึงหรือยืดมากเกินไป ทำให้เอ็นบาดเจ็บ แต่เส้นใยของเอ็นไม่ฉีกขาด มีอาการปวด บวม แต่น้อย
ระดับ2: ข้อเท้าแพลงชนิดรุนแรงปานกลาง คือ มีการฉีกขาดของเอ็นบางส่วน ทำให้ข้อเท้ามีความมั่นคงลดลง มีอาการปวด บวม เฉพาะที่ และอาจมีเลือดคั่ง
ระดับ3 : ข้อเท้าแพลงชนิดรุนแรง คือ มีการฉีกขาดของเอ็นข้อเท้าทางด้านนอกหมดทั้ง 3 เส้น ทำให้ข้อเท้าสูญเสียความมั่นคง มีอาการปวด บวมมาก และมีเลือดคั่ง อาจต้องผ่าตัด
การดูแลตัวเองเบื้องต้นเมื่อมีอาการปวดข้อเท้าจากการบาดเจ็บ
- Rest: ลดการใช้งานของข้อที่ได้รับบาดเจ็บ
- Ice: ในการประคบเย็น อาจจะใช้น้ำแข็งผสมน้ำใส่ถุงพลาสติกห่อด้วยผ้าอีกชั้นหนึ่งหรือใช้ cold pack แล้ววางที่บริเวณที่บาดเจ็บโดยปกติสามารถวางได้นานถึง 20 นาที หรือจนมีความรู้สึกชา โดยให้ทำเช่นนี้ทุก 2-4 ชั่วโมง เป็นเวลา 2 วัน
- Compress: ใช้ผ้ายืดพันรอบตั้งแต่โคนนิ้วเท้าจนถึงกลางหน้าแข้งโดยพันแน่นบริเวณส่วนปลายเพื่อลดบวม
- Elevation: นอนยกข้อเท้าข้างที่เจ็บสูงเหนือหัวใจโดยอาจนำหมอนมาหนุน เพื่อป้องกันของเหลวสะสม
การรักษาด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด
1.การใช้ความร้อน หรือความเย็น เพื่อลดอาการปวดและการอักเสบ ได้แก่ การประคบร้อนหรือการประคบเย็น และ การใช้เครื่อง ultrasound ขึ้นอยุ่กับลักษณะอาการของคนไข้แต่ละคนและเทคนิคของนักกายภาพแต่ละบุคคล
2.การใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อลดอาการปวด ได้แก่ TENS IFC
3. การออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบๆข้อเท้า
4. การยืดกล้ามเนื้อ เพื่อลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรอบๆข้อเท้า
5.สวมใส่ที่พยุงข้อเท้า เพื่อหลีกเลี่ยงการลงน้ำหนัก
วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2558
ทดสอบความทนทานของยางรองส้นเท้า Heelsoother
สำหรับท่านลูกค้าที่ไม่มันใจในประสิทธิภาพของแผ่นยางรองส้นเท้า HeelSoother เราขอให้ท่านเข้ามาดูอัลบั้มนี้ ซึ่งเป็นการทดสอบการดึงของแผ่นยางรองส้นเท้า พบว่าสามารถทนแรงดึงได้สูงมาก เราจึงกล้ามั่นใจที่จะรับประกันคุณภาพตัวสินค้า 2 ปีเต็ม
สนับสนุนโดย www.heelsoother.com และ www.fb.com/heelsoother
วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558
ส่งของ 07/01/58
รอบเที่ยงส่งของไปแล้วนะครับ
ร้านแสงชัยเจริญไลท์ติ้ง กรุงเทพมหานคร EN837232322TH ถึงพรุ่งนี้นะครับ กทม ส่งก่อนเที่ยงวันเดียวถึงครับ
คุณภัทรศิริ วิเชียรบุรี เพชรบูรณ์ EN837232326TH ได้รับของแล้วส่งไก่ย่างวิเชียร์บุรีมาให้ทานมั่งนะครับ อิอิ
ร้านแสงชัยเจริญไลท์ติ้ง กรุงเทพมหานคร EN837232322TH ถึงพรุ่งนี้นะครับ กทม ส่งก่อนเที่ยงวันเดียวถึงครับ
คุณภัทรศิริ วิเชียรบุรี เพชรบูรณ์ EN837232326TH ได้รับของแล้วส่งไก่ย่างวิเชียร์บุรีมาให้ทานมั่งนะครับ อิอิ
วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558
ส่งยางรองส้นเท้า ประจำวันที่ 06 มกราคม 2558
ขอบคุณคุณทวีพร ลูกค้าจากสมุทรสงคราม เลข ems คือ EN837081548TH ที่สั่งยางรองส้นเท้าเพื่อสุขภาพของเราไปใช้ ขอให้หายปวดเท้าใวๆนะครับ
วันศุกร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2558
เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ ( รองช้ำ )
เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ ( รองช้ำ )
อาการปวดบริเวณส้นเท้า อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ เส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อเท้า กระดูกงอกที่ฝ่าเท้าหรือที่เส้นเอ็นร้อยหวาย กระดูกเท้าบิดผิดรูป โรครูมาตอยด์ โรคเก๊าท์ หรือ กระดูกหัก เป็นต้น
สาเหตุของการเกิดโรคที่แท้จริงยังไม่ทราบ แต่ เชื่อว่าเป็นเพราะความเสื่อมบริเวณที่เส้นเอ็นฝ่าเท้าเกาะกับกระดูก
พบมาก ในผู้หญิงวัยกลางคน ยืนหรือเดินนาน ๆ น้ำหนักตัวมาก ใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม หรือ เท้าแบน เท้าบิด
อาการที่พบได้บ่อย คือ หลังจากนอนหรือนั่งสักพักหนึ่ง เมื่อเริ่มเดินลงน้ำหนักจะรู้สึกปวดส้นเท้ามาก แต่ หลังจากที่เดินไปได้สักพัก อาการปวดก็จะทุเลาลง แต่ถ้าเดินนาน ๆ ก็อาจปวดมากขึ้นอีกได้ มักจะปวดมากในช่วงตื่นนอนตอนเช้า และจะดีขึ้นในช่วงตอนสาย หรือ ตอนบ่าย ถ้ากระดกข้อเท้าขึ้นหรือกดที่ส้นเท้า จะปวดมากขึ้น
ผู้สูงอายุประมาณร้อยละ 30-70 ถ้าถ่ายภาพรังสีของเท้า จะพบว่ามีกระดูกงอกที่ไต้ฝ่าเท้าได้ ดังนั้น ถึงแม้ว่าจะพบกระดูกงอกจากภาพรังสี แต่ก็อาจจะไม่เกี่ยวกับอาการปวดส้นเท้า จึงไม่จำเป็นต้องถ่ายภาพรังสีทุกคน
โดยส่วนใหญ่ ผู้ป่วยเส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ รักษาให้หายขาดได้ ด้วยวิธีรักษาแบบไม่ผ่าตัด แต่อาจจะต้องใช้เวลารักษานานหลายเดือน อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น แต่ถ้ารักษาไปแล้ว 6 - 9 เดือน ก็ยังไม่ดีขึ้น อาจจะต้องรักษาด้วยวิธีผ่าตัด
แนวทางการรักษาด้วยตนเอง
1. ลดกิจกรรมที่ทำให้ปวด หรือ กิจกรรมที่ต้องลงน้ำหนัก เช่น การยืนหรือ เดินนาน ๆ เป็นต้น และควรออกกำลังที่ไม่ต้องมีการลงน้ำหนักที่ฝ่าเท้ามากนัก เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ๆ เป็นต้น
2. บริหาร เพื่อยืดกล้ามเนื้อน่อง และ เส้นเอ็นฝ่าเท้า
3. หลีกเลี่ยงการเดินด้วยเท้าเปล่า และ ใส่รองเท้าที่เหมาะสม ขนาดพอดีไม่หลวมเกินไป มีพื้นรองเท้าที่นุ่ม และมีแผ่นรองรับอุ้งเท้าให้นูนขึ้น อาจใช้แผ่นนุ่มๆ รองที่ส้นเท้า (หนา ½ นิ้ว) ใส่รองเท้าส้นสูงประมาณ 1 – 1.5 นิ้ว หรือ ใช้แผ่นยางสำหรับรองส้นเท้าโดยเฉพาะ เช่น Heel cups , Tuli cups เป็นต้น
4. ประคบด้วยความร้อนหรือความเย็น หรือ ใช้ยานวด นวดฝ่าเท้า หรือ ใช้ผ้าพันที่ฝ่าเท้าและส้นเท้า
5. ลดน้ำหนัก เพราะถ้าน้ำหนักมาก เส้นเอ็นฝ่าเท้าก็ต้องรับน้ำหนักมาก ทำให้ผลการรักษาไม่ดี และ หายช้า
แนวทางการรักษาโดยแพทย์
1. รับประทานยา เช่น ยาแก้ปวดลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาคลายกล้ามเนื้อ
2. ฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ บริเวณส้นเท้าจุดที่ปวด แต่ไม่ควรฉีดเกิน 2 ครั้งใน 1 เดือน เพราะอาจทำให้เกิดเส้นเอ็นฝ่าเท้าเปื่อยและขาดได้ ก่อนจะฉีดต้องทำความสะอาดที่ผิวหนังอย่างดี เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ขณะฉีดยาสเตียรอยด์จะรู้สึกปวดแล้วก็จะชา แต่หลังจากยาชาหมดฤทธิ์ ( ประมาณ 1-2 ชั่วโมง ) ก็อาจเกิดอาการปวดซ้ำอีกครั้ง จึงควรรับประทานยา หรือ ประคบด้วยน้ำอุ่น กันไว้ก่อน
3. ทำกายภาพบำบัด เช่น ใช้ความร้อนลึก (อัลตร้าซาวด์) ดัดยืดเส้นเอ็นฝ่าเท้า ใช้ไม้เท้าช่วยเดิน เป็นต้น
4. ใส่เฝือกชั่วคราวให้ข้อเท้ากระดกขึ้น ในตอนกลางคืน หรือ ถ้าเป็นมาก อาจต้องใส่เฝือกตลอดทั้งวัน
5. การผ่าตัด จะทำก็ต่อเมื่อรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ แล้วไม่ได้ผล คือ อาการปวดไม่ดีขึ้นหลังรับการรักษาอย่างเต็มที่ต่อเนื่องกันอย่างน้อย 6 - 9 เดือน หรือ สาเหตุการปวดเกิดจากเส้นประสาทบริเวณฝ่าเท้าถูกกดทับ
ด้วยความปราถนาดีจาก แผ่นยางรองส้นเท้าเพื่อสุขภาพเท้าที่ดี HeelSoother
ปวดเท้า ดูแลอย่างไรดี
คำถาม
เรียนท่านผู้รู้นะค่ะ
เนื่องด้วยดิฉันปวดส้นเท้าขวามานานเเล้ว (ไปพบคุณหมอ ท่านพบว่าเป็นคนเท้าแบน)
แต่ล่าสุดนี้มาปวดตาตุ่มด้านใน และปวดด้านค่ะ (ท่านให้ยามาท่าน ก็ยังไม่หายค่ะ)
ยาก็ท่าน หาหมอก็หลายท่านแล้ว
ยาทาก็นวดเบาๆ. น้ำอุ่นก็แช่
อาการปวด และ ปวมก็ยังมีค่ะ
รบกวนช่วยตอบด้วยนะค่ะ
ขอบคุณมากค่ะ
ตอบ
หากอาการบวมยังมีอยู่ แสดงว่ายังคงมีอาการอักเสบอยู่เยอะค่ะ
อาจจะต้องเปลี่ยนจากการใช้การแช่น้ำร้อน เป็นการแช่น้ำเย็นหรือประคบแผ่นเย็นบริเวณที่เป็นแทนค่ะ
เพราะความเย็นจะช่วยลดการอักเสบได้ดีกว่าความร้อน
ในส่วนของความร้อนใช้ได้ เพื่อลดความตึงตัวค่ะ แต่ต้องรอให้หายอักเสบมากกว่านี้ก่อน
ทายาและคลึงบริเวณที่เป็นเบา ๆ ทำดีแล้วค่ะ
อาจจะเพิ่มเรื่องการยืดกล้ามเนื้อ หรือลดการใช้งานไปเพิ่มเติม
เพราะหากเรายังต้องเดินมาก ๆ อยู่ ก็จะทำให้อาการอักเสบ อักเสบไปเรื่อย ๆ ไม่หายเสียที
ในบางกรณีหากเราไม่ได้ออกไปทำงานเยอะ อาจให้ใส่รองเท้านิ่ม ๆ เวลาเดินในบ้านด้วยค่ะ และหากเราต้องเดินข้างนอกมาก อาจจะลองพิจารณาหารองเท้าสุขภาพที่เหมาะสม
เพื่อไม่ให้แรงกดทับเกิดกับส้นเท้าเรามากค่ะ
ส่วนท่าบริหาร ส่วนมากจะเน้นเพื่อการยืดกล้ามเนื้อน่อง เพราะกล้ามเนื้อน้องจะไปต่อกับเอ็นบริเวณใต้ส้นเท้าที่คนไข้เป็นค่ะ
โดยอาจจะใช้ท่านั่งบนเตียง แล้วยืดขาข้างที่จะเป็นไปทางด้านหน้า ใช้ผ้าคล้องบริเวณปลายเท้าแล้วให้คนไข้ออกแรงดึงเข้าหาตัว เพื่อให้เกิดอาการตึงบริเวณน่อง ทำค้างไว้ 10 วินาที 10 ครั้ง
หรือหากมีไม้ที่เป็นรูปสามเหลี่ยม ก็จะสามารถขึ้นไปยืนได้
คุณสุมาลีสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน google นะคะ
ลองรักษาด้วยตนเองดูก่อนค่ะ หากสัก 1-2 สัปดาห์ไม่หาย แนะนำมาพบนักกายภาพบำบัดเพื่อทำการรักษาหรือให้คำแนะนำต่อไป
ANS
ขอบคุณ คุณหมอมากๆๆค่ะ
สุมาลี ลืมบอกไปว่าส้นเท้าขวาเจ็บก่อน ( คุณบอกว่าเท้าแบน)
ส่วนเท้าซ้ายปวดตาตุ่มด้านใน( ปวดมากค่ะ )
แต่ก็จะลองทำตาม ที่คุณหมอแนะนำนะค่ะ
ขอบคุณมากๆๆอีกครั้งค่ะ
ด้วยความปราถนาดีจาก ยางรองเส้นเท้า HeelSoother สวมใส่เพื่อลดและป้องกันอาการปวดส้นเท้า
เครดิต
เรียนท่านผู้รู้นะค่ะ
เนื่องด้วยดิฉันปวดส้นเท้าขวามานานเเล้ว (ไปพบคุณหมอ ท่านพบว่าเป็นคนเท้าแบน)
แต่ล่าสุดนี้มาปวดตาตุ่มด้านใน และปวดด้านค่ะ (ท่านให้ยามาท่าน ก็ยังไม่หายค่ะ)
ยาก็ท่าน หาหมอก็หลายท่านแล้ว
ยาทาก็นวดเบาๆ. น้ำอุ่นก็แช่
อาการปวด และ ปวมก็ยังมีค่ะ
รบกวนช่วยตอบด้วยนะค่ะ
ขอบคุณมากค่ะ
ตอบ
หากอาการบวมยังมีอยู่ แสดงว่ายังคงมีอาการอักเสบอยู่เยอะค่ะ
อาจจะต้องเปลี่ยนจากการใช้การแช่น้ำร้อน เป็นการแช่น้ำเย็นหรือประคบแผ่นเย็นบริเวณที่เป็นแทนค่ะ
เพราะความเย็นจะช่วยลดการอักเสบได้ดีกว่าความร้อน
ในส่วนของความร้อนใช้ได้ เพื่อลดความตึงตัวค่ะ แต่ต้องรอให้หายอักเสบมากกว่านี้ก่อน
ทายาและคลึงบริเวณที่เป็นเบา ๆ ทำดีแล้วค่ะ
อาจจะเพิ่มเรื่องการยืดกล้ามเนื้อ หรือลดการใช้งานไปเพิ่มเติม
เพราะหากเรายังต้องเดินมาก ๆ อยู่ ก็จะทำให้อาการอักเสบ อักเสบไปเรื่อย ๆ ไม่หายเสียที
ในบางกรณีหากเราไม่ได้ออกไปทำงานเยอะ อาจให้ใส่รองเท้านิ่ม ๆ เวลาเดินในบ้านด้วยค่ะ และหากเราต้องเดินข้างนอกมาก อาจจะลองพิจารณาหารองเท้าสุขภาพที่เหมาะสม
เพื่อไม่ให้แรงกดทับเกิดกับส้นเท้าเรามากค่ะ
ส่วนท่าบริหาร ส่วนมากจะเน้นเพื่อการยืดกล้ามเนื้อน่อง เพราะกล้ามเนื้อน้องจะไปต่อกับเอ็นบริเวณใต้ส้นเท้าที่คนไข้เป็นค่ะ
โดยอาจจะใช้ท่านั่งบนเตียง แล้วยืดขาข้างที่จะเป็นไปทางด้านหน้า ใช้ผ้าคล้องบริเวณปลายเท้าแล้วให้คนไข้ออกแรงดึงเข้าหาตัว เพื่อให้เกิดอาการตึงบริเวณน่อง ทำค้างไว้ 10 วินาที 10 ครั้ง
หรือหากมีไม้ที่เป็นรูปสามเหลี่ยม ก็จะสามารถขึ้นไปยืนได้
คุณสุมาลีสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน google นะคะ
ลองรักษาด้วยตนเองดูก่อนค่ะ หากสัก 1-2 สัปดาห์ไม่หาย แนะนำมาพบนักกายภาพบำบัดเพื่อทำการรักษาหรือให้คำแนะนำต่อไป
ANS
ขอบคุณ คุณหมอมากๆๆค่ะ
สุมาลี ลืมบอกไปว่าส้นเท้าขวาเจ็บก่อน ( คุณบอกว่าเท้าแบน)
ส่วนเท้าซ้ายปวดตาตุ่มด้านใน( ปวดมากค่ะ )
แต่ก็จะลองทำตาม ที่คุณหมอแนะนำนะค่ะ
ขอบคุณมากๆๆอีกครั้งค่ะ
ด้วยความปราถนาดีจาก ยางรองเส้นเท้า HeelSoother สวมใส่เพื่อลดและป้องกันอาการปวดส้นเท้า
เครดิต
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)